แนวคิดเกี่ยวกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรม

นิยามเกี่ยวกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรม

ชูชัย สมิทธิไกร (2557) กล่าวว่า ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม (Behavioral Intention) เป็นความต้องการที่จะพยายามทำพฤติกรรมต่าง ๆ โดยความตั้งใจนั้นเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า บุคคลได้มีความพยายามและทุ่มเทมากน้อยเพียงใด โดยความตั้งใจเพียงตัวเดียวก็เพียงพอที่จะสามารถทำพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ หากยิ่งบุคคลนั้นมีความตั้งใจที่แน่วแน่และมุ่งมั่นในการกระทำต่าง ๆ บุคคลนั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนั้นให้สำเร็จลุล่วง แต่ถ้าหากความตั้งใจเพียงตัวเดียวไม่เพียงพอก็อาจจะต้องมีการหาปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมให้ความตั้งใจนั้นประสบความสำเร็จ เช่น เงิน ทักษะ เป็นต้น[i]

เจษฎา ถิรเมือง (2560) กล่าวว่า ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม หมายถึง ความตั้งใจที่ผู้ใช้บริการทำพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นปัจจัยจูงใจในความพยายามที่จะทำพฤติกรรมนั้นด้วยความยินดี และเต็มใจเพื่อให้ได้กลับมาใช้บริการด้วยความยินดีจากการบริการที่ได้รับ[ii]

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในบริบทต่าง ๆ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงและสรุปข้อมูลได้[iii] ดังนี้

  1. ประสบการณ์ตราสินค้าทางประสาทสัมผัส ได้แก่ จากทัศนวิสัยโดยทั่วไป มีความประทับใจจังหวัดขอนแก่นเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกว่า จังหวัดขอนแก่มีความน่าสนใจอย่างยิ่งในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE และจังหวัดขอนแก่น มีความน่าดึงดูดอย่างยิ่งสำหรับการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE[iv] (สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์, 2560)
  2. ประสบการณ์ตราสินค้าทางอารมณ์ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และอารมณ์ดี รู้สึกดีมากต่อการมาท่องเที่ยวรูปแบบ MICE ที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองแห่งความบันเทิง[v] (สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์, 2560)
  3. ประสบการณ์ตราสินค้า ทางพฤติกรรม ได้แก่ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE และได้แสดงออก เมื่ออยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นทำให้มีประสบการณ์ทางกายภาพ เช่น ได้ร้องเพลง ได้เต้นรำ ได้พูดบรรยาย และจังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองเป้าหมายของการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE[vi] (สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์, 2560)
  4. ประสบการณ์ตราสินค้าทางปัญญา ได้แก่ มีส่วนร่วมทางความคิดเมื่อมาท่องเที่ยวรูปแบ MICE ที่จังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่นทำให้ได้ใช้ความคิดและจังหวัดขอนแก่นมีส่วนช่วยให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นและมีความคิดในการแก้ปัญหา[vii] (สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์, 2560)

ผลลัพธ์ของความตั้งใจเชิงพฤติกรรม[viii] มีดังนี้

  1. มีพฤติกรรมการบอกต่อของผู้ใช้บริการมาเล่าหรือบอกต่อถึงประสบการณ์ที่ดีที่ได้รับจากการบริการ[ix] (เจษฎา ถิรเมือง, 2560)
  2. มีความตั้งใจที่จะซื้อ โดยผู้ใช้บริการมีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์พร้อมด้วยการตัดสินใจเพื่อเข้ามาใช้บริการตามความตั้งใจที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์[x] (เจษฎา ถิรเมือง, 2560)
  3. มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยราคา โดยผู้มาใช้บริการยอมรับผลที่ได้รับจากอัตราผลตอบแทนที่น้อยลง หรือค่าธรรมเนียมที่ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ[xi] (เจษฎา ถิรเมือง, 2560)
  4. มีพฤติกรรมการร้องเรียน โดยผู้ใช้บริการร้องเรียนโดยตรง หลังจากได้รับการบริการที่ไม่ถูกต้อง[xii] (เจษฎา ถิรเมือง, 2560)

[i] ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[ii] เจษฎา ถิรเมือง. (2560). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[iii] แสงตะวัน เพชรสุวรรณ. (2564). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และความไว้วางใจต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[iv] สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์. (2560). ประสบการณืตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 1 – 16.

[v] สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์. (2560). ประสบการณืตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 1 – 16.

[vi] สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์. (2560). ประสบการณืตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 1 – 16.

[vii] สุรพงษ์ วงษ์ปาน และอานนท์ คำวรณ์. (2560). ประสบการณืตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 1 – 16.

[viii] แสงตะวัน เพชรสุวรรณ. (2564). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และความไว้วางใจต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[ix] เจษฎา ถิรเมือง. (2560). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[x] เจษฎา ถิรเมือง. (2560). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[xi] เจษฎา ถิรเมือง. (2560). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[xii] เจษฎา ถิรเมือง. (2560). คุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *