แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความเครียด

ความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับคนไทยทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกับบุคคลทำงานทั่วไป ที่ต้องเผชิญกับภาวะความกดดันในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านฐานะหน้าที่การงานการเงิน ความมั่นคงของชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเครียดสูงตามไปด้วย ความเครียดนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ ทางกายมากมาย[i]

ความเครียด หมายถึง ภาวะความไม่สมดุลทางอารมณ์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการรับรู้ หรือการประเมินของบุคคลต่อสิ่งที่เข้ามาในประสบการณ์ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งคุกคามโดยเป็นผลจากการกระทำร่วมกันของสภาพแวดล้อมภายนอก อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมในสังคม ในการทำงาน ในธรรมชาติ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตกับปัจจัยภายในของบุคคล เช่น ทัศนคติ ลักษณะประจำตัว อารมณ์ ประสบการณ์ในอดีต ตลอดจนความต้องการของบุคคลนั้น[ii]

ความเครียดในการทำงานเกิดจากความรู้สึกที่มีผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ในการทำงานที่คุกคามต่อผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความกดดันและส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียกับการทำงาน โดยจะขัดขวางหรือลดทอนประสิทธิภาพในการทำงาน[iii]

ความเครียด หมายถึง สภาวะกดดันในบุคคลที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาคุกคามก่อให้เกิดความไม่สมดุลทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมของบุคคล รวมถึงพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของบุคคลด้วย หรืออาจกล่าวว่า สภาวะเครียดเป็นกลไกการป้องกันตัวที่เกิดขึ้นเมื่อมีอันตรายจากภายนอกมารบกวน[iv]

ความเครียด หมายถึง เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดผลเสียทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งในแต่ละบุคคลจะมีวิธีการแสดงออกของความเครียดที่แตกต่างกัน[v]

ความเครียดในการทำงาน เป็นการตอบสนองของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ในสภาวะการทำงานที่กดดัน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ไม่สามารถทำงานให้บรรลุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อตัวบุคคลเองและองค์กรด้วย[vi]

ความเครียดในการปฏิบัติงาน หมายถึง ภาวะค่ำเครียด ตึงเครียด และกดดันซึ่งเกิดจากการทำงาน หรือเกิดจากปัญหาในการทำงานทำให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม[vii]

ความเครียดในการทำงาน หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการทำงาน หรือการเผชิญกับแรงกดดันจากสิ่งต่าง ๆ ในการทำงาน ความเครียดกับเวลา ความวิตกกังวล ซึ่งสิ่งนั้นส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกายและจิตใจของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มคณะด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ[viii]


[i] ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ii] ธรรมศักดิ์ สายแก้ว สุนันทา ศรีศิริ และสมฤดี สายหยุดทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ในวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 9(3),  612 – 628.

[iii] อลิษา กุลจันทะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในคณะวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

[iv] ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[v] ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[vi] ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[vii] ต่อลาภ อยู่พงษ์พิทักษ์ และอริสรา เสยานนท์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

[viii] อลิษา กุลจันทะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในคณะวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *