เครื่องบนบานบวงสรวง

เครื่องบนบานบวงสรวง ขนาดใหญ่หรือชุดใหญ่ ประกอบด้วย

  1. หัวหมู 1 คู่
  2. ไก่ต้ม 1 คู่
  3. เป็ดต้ม 1 คู่
  4. ปลาทับทิมหรือปลานิล 1 คู่ (ปลา 2 ชนิดนี้ชื่อเป็นมงคล)
  5. ปู 1 คู่ พร้อมด้วยข้าวสุก 2 ที่
  6. น้ำจิ้มจัดตามเหมาะสมแก่ของบูชา
  7. ขนมต้มขาว ต้มแดง 2 ที่
  8. ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้นขนมต้มขาวต้มแดง อย่างละ 2 ที่
  9. ผลไม้ คือ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มเขียวหวาน หรือผลไม้ตามฤดูกาลอย่างละ 2 ที่
  10. กล้วยน้ำไท หรือกล้วยน้ำหว้าก็ได้ 2 ที่
  11. ดอกไม้ คือ ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกคูนน หรือดอกไม้ตามฤดูกาล
  12. เหล้าขาว 1 ขวด (เหล้าเป็นเครื่องบวงสรวงเดิม)
  13. แก้ว 4 ใบ น้ำเปล่า 2 ที่
  14. แจกันดอกไม้ 1 คู่ กระถางธูป เชิงเทียน พร้อมเชื้อชนวนจุดไฟ
  15. เครื่องบายศรีปากชาม และเครื่องบายศรีที่ทำได้ 1 คู่
  16. ธูปดอกเล็กให้เพียงพอแก่คนที่มาร่วมพิธี พร้อมไม้ขีดไฟหรือเครื่องจุดไฟอื่น ๆ
  17. พวงมาลัยดอกดาวเรือง 3 พวง
  18. ธูปใช้ 9 ดอก (เพื่อให้เกิดสิริมงคล)
  19. ประทัด 9 ชุด (จุดบอกกล่าวให้วิญญาณได้รู้ได้ยิน)

เครื่องบนบานบวงสรวงขนาดเล็กหรือชุดเล็ก

เครื่องบวงสรวงขนาดเล็ก จัดด้วยเครื่องคาวหวานดังที่จัดตามชุดใหญ่ที่กล่าวแล้ว (เว้นเหล้า) อย่างละ 1 อย่างและดอกไม้ธูปเทียนตามที่หาได้ (ไม่ต้องจัดเครื่องบายศรี) (ธูปห้ามใช้ 3 ดอก)

การกำหนดฤกษ์ยามในพิธีบวงสรวง

การกำหนดฤกษ์ยามพิธีบวงสรวง ควรกำหนดและเขียนเวลาให้ มีคำว่า”เก้า” อย่าให้เสียงคำว่า “สูญ” เช่นว่า เก้าโมงเก้านาที หรือ แปดโมงเก้านาที นิยมดังนี้ (เว้นไว้แต่เจ้าพิธีบอกเวลาอื่น ๆ แต่ก็ควรเว้นยามสูญยามปลอด วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ ควรปรึกษาผู้รู้ฤกษ์ยามด้วย) และอย่าให้เกินเวลาเที่ยว 12 นาฬิกา

การตั้งเครื่องบวงสรวง มีดังนี้

  1. ตั้งเครื่องคาวไว้หน้าแถวที่ 1 แถวข้างละ 1 ที่ในแถวที่ 1 ที่ 2 และ 3 (สุดแต่มากน้อยตามลำดับ)
  2. ตั้งเครื่องหวานในแถวถัดจากของคาว
    1. ถ้วยเครื่องน้ำจิ้ม
    2. เหล้าและแก้วเหล้า
    3. ขวดน้ำ แก้วน้ำ
  3. การเริ่มพิธี
    1. จุดเทียนชนวนจุดธูป จุดเทียนจุด 9 ดอกและจุดแจกผู้ร่วมพิธี
    2. แจกจ่ายผู้ร่วมงานจนครบ
    3. ผู้ปรารถนาลูกบนบนอธิษฐานขอ (ประเภททำพิธีขอลูก) อธิษฐานขอโดยกล่าวขอคามคำบาลีที่ให้ไว้ข้างบน อธิษฐานจบแล้วก็ทำการปักธูปลงในเครื่องสังเวย
    4. เทเหล้าใส่แก้วไว้ก่อน 1 ใน 3 ของแก้วเติมเมื่อเริ่มพิธีอีก 1 ส่วนให้เลยครึ่งแก้วไปเล็กน้อย
    5. จุดประทัด เมื่อเสียงประทัดสงบ ทุกคนสงบอธิษฐานตามใจที่ปรารถนา
    6. เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 5 นาทีเทเหล้าในแก้วทิ้ง แล้วเทใหม่ครึ่งแก้ว
    7. เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 5 นาทีเทเหล้าในแก้วทิ้ง แล้วเทใหม่ครึ่งแก้ว
    8. รอจนธูปหมดดอกจึงลา (หลังพิธีบวงสรวงขอ)
    9. พิธีข๊วด ใช้มีดตัดเครื่องคาวหวานใส่กระทงวางไว้บริเวณนั้น ตรงที่สูงรอบ ๆ ที่บวงสรวง วางทิ้งไว้ (ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีข๊วดอย่าเพิ่งรับประทาน ตรงนี้เรียกว่า ผูกใจจูงใจลูกให้อยากมาเกิดอยู่ด้วย อาจได้ลูกจาวิญญาณพวกนี้ส่วนหนึ่ง)
    10. ที่เหลือเจ้าของอธิษฐานจิตเป็นลูกช้างแล้วนำไปรับประทานได้และแจกจ่ายผู้ร่วมพิธีและญาติมิตร
    11. แล้วลาเหมือนลาพระพุทธว่า เสสัง มังคลัง ยาจามิ ฯ

สำหรับผู้ที่บวงสรวงหลังจากขอลูกแล้วได้ ก็ปฏิบัติเหมือนกัน เป็นแต่เปลี่ยนอธิษฐานขอ เป็นการกล่าวขอบคุณและขอให้ลูกของตนเลี้ยงง่ายและเจริญรุ่งเรือง

ขอย้ำอีกครั้งว่า การบวงสรวง การสังเวย การบนบาน มีข้อต่างกันว่า การบวงสรวงเป็นการบอกกล่าวเทพไท้เทวาให้รับรู้รบทราบและให้ช่วยอนุโมทนาจิตช่วยให้งานการเจริญรุ่งเรืองการสังเวย คือ เป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะได้ในเรื่องที่ตนขอ เช่น การสังเวยแพะเจ้าแม่กาลี โดยตัดคอแพะแล้วนำหัวแพะที่มีเลือดสด ๆ ไปตั้งไว้พานหน้ารูปเคารพเทพกาลีนั้น เพื่อให้เจ้าแม่กาลีโปรดเสวยเลือดนั้นด้วยยินดีปรีดา แล้วก็จะได้รับการไถ่บาปให้แก่ตน ส่วนการบนบานนั้น เป็นการบนเพื่อขอให้สิ่งเคารพนั้นได้ช่วยประทานสิ่งที่ขอให้ตนก่อน เช่น ขอบุตร ขอโชคลาภ ขอให้หายจากการป่วยไข้ เป็นต้น ในเมื่อได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะนำเครื่องต่าง ๆ มีหัวหมู ไก่ ไข่ต้ม ผลไม้ เป็นต้น มาแก้บนภายหลัง นั่นคือ ทั้งสามคำมีความแตกต่างกัน

การบนบาน บวงสรวงนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ สถานที่ต่าง ๆ ว่ามีเจ้าของ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ จึงได้สังเวย ทำพิธีบนบานและแก้บนเมื่อได้อย่างที่ขอแล้ว เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จะเห็นว่า การบนบานนี้ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย กรณีตัวอย่าง คือ พิธีบนบานขอบุตรกับรุกขเทพของสองเศรษฐีผัวเมียที่ถูกนักเลงสุตราขี้เมาดูแคลนว่า รวยเปล่า ๆ แต่ไม่มีบุตร ตายไปจะตกนรกขุมปุตตะ สองเศรษฐีผัวเมียนี้คงพยายามมีบุตรตามธรรมชาติมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ เมื่อจนตรอกแล้วก็หันเข้าพึงเทพดา โดยความเชื่อว่า จะสามารถให้บุตรได้ น่าสังเกตว่า ความเชื่อการบนบานนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร ไม่ได้เบียดชีวิตอื่น ๆ ไม่เหมือนการสังเวย ที่ต้องสังเวยด้วยเลือดสัตว์ ด้วยชีวิตคน ด้วยช้าง ด้วยม้าและจากกรณีสองเศรษฐีผัวเมียนี้ เป็นที่มาของปัญหาจริยธรรมเชิงพุทธ ๓ ราศี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *