ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ในเรื่องการกินอาหารเพื่อการมีสุขภาพดี

มีการพูดถึงคำว่า “ศตวรรษที่ 21 กับสุขภาพ” มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ภาพอนาคตที่จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี ค.ศ. 2020 โดยการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ เพื่อเตรียมรับกับสิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง โดยการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เพื่อมุ่งหมายต่อสุขภาพดีถ้วนหน้า ภายใต้การส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นบทบาทสำคัญในช่วงทศวรรษข้างหน้า ภายใต้การพัฒนาที่เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ กระจายอย่างรวดเร็วของการสื่อสารที่ทันสมัย การเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพมีศักยภาพสูงขึ้นและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตดีขึ้น การดูแลสุขภาพแนวใหม่จึงมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ด้านสุขภาพทั้งในระดับบุคคลและชุมชน รูปแบบการดูแลสุขภาพเน้นการดูแลตนเองและมีระบบข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมกับสภาวะของแต่ละบุคคล

สำหรับข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยและธงโภชนาการ ข้อเสนอแนะและความท้าทายในการปรับปรุงข้อปฏิบัติการกิน อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของไทยและธงโภชนาการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมสุขภาพในศตวรรษที่ 21 มี 3 หัวข้อหลัก ได้แก่

  1. ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่ทันสมัย โดยการปรับปรุงข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยและปัจจัยองค์ความรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยที่ควรมีการดำเนินการ ภายใต้แนวคิดที่ว่าการกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อภาวะโภชนาการและสถานะสุขภาพได้ จึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพ กินดีปฏิบัติไม่ยาก เพียงกินให้ครบ 5 หมู่ในทุกมื้อและเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการดี
  2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเชื่อมโยงกับการสื่อสารและการประเมินผล โดยมีแนวคิดว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร ส่งผลต่อสุขภาพทั้งภาวะโภชนาการการขาดและเกิน ตามที่มีผลการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สิ่งที่ท้าทายในศตวรรษที่ 21 คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเพื่อให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมทั้งการวางแผนประเมินผลของประเทศอย่างเป็นระบบโดยจะดำเนินการภายใต้การเผยแพร่ข้อปฏิบัติและการวางแผนการประเมินการนำข้อปฏิบัติและธงโภชนาการไปใช้ และ
  3. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงด้านอาหาร ภายใต้แนวคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ท้าทายและสำคัญในศตวรรษที่ 21 สาเหตุเนื่องจากการใช้ทรัพยากรของโลกในปลายศตวรรษที่ 20 ยังไม่ได้ถูกวางแผนไว้ ประกอบกับจำนวน ประชากรโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ความพยายามของการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมยังเป็นปัญหาที่รอการแก้ไข ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการแทรกแซงในวัฏจักรไจโตรเจน เป็นปัจจัยที่มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในวงจรอาหาร การได้มาของอาหาร วงจรผลิต รวมทั้งความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งเป็นความสำคัญหลายมิติของงานด้านโภชนาการสาธารณสุข

การเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีปัจจัยทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเด็นสุขภาพที่เป็นผลมาจากการกินอาหารเป็นเรื่องที่ท้าทายกิจกรรมที่จัดทำโดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หาวิธีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพที่มาจากการกินอาหาร โดยทำการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับผู้บริโภคได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง และมีรูปแบบในการกระจายข้อมูลเพื่อให้เข้าถึงและครอบคลุมทุกกลุ่มอายุในอีกหลายช่องทาง เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ สายด่วนโภชนาการซึ่งผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการกินอาหาร และโภชนาการได้ทั้งทางโทรศัพท์และโทรสาร เช่น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องโภชนบัญญัติ 9 ประการ และธงโภชนาการสามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วน 1675 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น การค้นหาข้อมูลสุขภาพและการเข้าถึงฐานข้อมูล ประเภทเวบไซต์นั้นมีหลัก 3 ประการในการพิจารณาความน่าเชื่อถือ กล่าวคือ ประการแรกต้องพิจารณาว่าใครเป็นผู้เขียนข้อมูลในเว็บไซด์ เช่น การศึกษา ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ของผู้เขียน ประการที่สองต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลที่เป็นกลาง เหมาะสมและถูกต้องมากน้อยเพียงใด โดยการเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น ๆ และประการสุดท้าย คือ พิจารณาว่า ข้อมูลมีความทันสมัยหรือไม่

แนวทางการปฏิบัติตัวเหล่านี้ เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนของการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพดีเท่านั้น การดำเนินชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่ดีด้วยตนเองในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการกินอาหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็น การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพนั้น จัดเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพทางกาย ซึ่งหากเรารู้คุณค่าของอาหารแต่ละชนิดที่เรารับประทานและสามารถรับประทานอาหารตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ และปฏิบัติตัวตามหลักของธงโภชนาการให้เหมาะกับเพศ วัย และปริมาณพลังงานที่เราควรได้รับในแต่ละวันแล้วก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรงเกี่ยวกับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพประกอบกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพแนวใหม่ สร้างมิติใหม่ให้คนไทยมีความฉลาดทางอาหาร และโภชนาการเพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศที่ประชากรมีสุขภาวะดีที่ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *