วิธีเลือกซื้อและคำแนะนำในการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ

วิธีเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ

  1. ก่อนอื่นจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณลักษณะ 4 ประการ (4Cs) ของอัญมณีที่ท่านกำลังเลือกซื้อ ได้แก่ สี ความสะอาด การเจียระไน และน้ำหนักกะรัต
  2. พ่อค้าอัญมณีเป็น C อีกตัวหนึ่ง คือ ความเชื่อมั่น พ่อค้าที่ดีมีความรู้ความสามารถช่วยแนะนำลูกค้าในการเลือกอัญมณีและเครื่องประดับที่เหมาะสมกับรสนิยมและงบประมาณของลูกค้า
  3. อัญมณีหรือพลอยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อัญมณี/พลอยเนื้อแข็ง และอัญมณี/พลอยเนื้ออ่อน โดยพลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน บุษราคัม มรกต ฯลฯ และอัญมณี/พลอยเนื้ออ่อน ได้แก่ ทัวร์มาลีน เพริโดต์ แทนซาไนต์ การ์เนต โอปอล สปิเนล เซอร์คอน อะความารีน ไข่มุก ฯลฯ
  4. ตามปกติ พลอยเนื้ออ่อนมีคุณค่าทางการค้า ความแข็งและความทนทานน้อยกว่าพลอยเนื้อแข็ง
  5. พลอยหรือเพชร 2 เม็ดที่มีน้ำหนักกะรัตเท่ากัน มีมูลค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสี ความสะอาด และการเจียระไน ดังนั้น ขอให้ตรวจสอบคุณภาพด้วยการใช้แว่นขยาย 10 เท่า โดยให้พ่อค้าอัญมณีเป็นผู้แนะนำ
  6. ให้ระมัดระวังอัญมณี/เพชรสังเคราะห์หรือของเลียนแบบ สำหรับทับทิม/ไพลิน ระวังอย่าเข้าใจผิดและจ่ายเงินซื้อพลอยสีน้ำเงินชนิดอื่นเป็นไพลิน และพลอยสีแดงชนิดอื่นเป็นทับทิม
  7. ราคาทอง/เงิน/แพลทินัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบ ช่างฝีมือและการออกแบบ

คำแนะนำในการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ

  1. อย่าปล่อยให้คนแปลกหน้าหรือเพื่อนที่เพิ่งพบกันชักจูงให้ไปซื้อค่าคอมมิชชั่นที่ทางร้านค้าให้แก่คนพวกนี้ ทำให้ท่านต้องจ่ายแพงขึ้น
  2. เลือกร้านค้าด้วยความระมัดระวังให้แน่ใจว่า มีผู้เชี่ยวชาญอัญมณีท่านสามารถเพิ่มมูลค่าให้การช้อปปิ้งด้วยการเลือกซื้ออัญมณีจากร้านค้าสมาชิก JFC และ BWC ที่ได้รับการแนะนำ
  3. เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ ให้แน่ใจกับการเปรียบเทียบของที่เหมือนกัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ
  4. ประเมินพนักงานขายว่า มีความรู้ไหม เต็มใจพูดคุยถึงข้อดีข้อเสียของสินค้าไหม
  5. ไม่ต้องรีบร้อนและอย่าปล่อยให้พนักงานกดดันให้ท่านซื้อสินค้า
  6. ขอใบเสร็จรับเงินพร้อมใบรับรอง/ใบรับประกันสินค้าที่ซื้อและตรวจสอบว่าถูกต้องก่อนออกจากบ้าน
  7. สุดท้าย คำแนะนำที่ดีที่สุด คือ ซื้อสิ่งที่ท่านชอบ ยกตัวอย่าง อย่าซื้ออัญมณีหรือเครื่องประดับเพื่อขายเก็งกำไรหรือลงทุน อาจเป็นไปได้แต่ไม่มีการรับประกัน จงซื้อหาเพื่อความพอใจไม่ใช่เพื่อเก็งกำไร

เคล็ดลับในการดูแลรักษาอัญมณีและเครื่องประดับ

  • การถอดแหวนออกขณะทำงานหนักเป็นสิ่งที่ดี แม้ว่า เพชรจะมีความทนทาน ก็อาจบิ่นหรือแตกร้าวได้ถ้าถูกกระแทกแรง ๆ เหงื่อไคลและความสกปรกจะทำให้เครื่องประดับของท่านหมองและไม่แวววาว
  • เมื่อท่านไม่ได้สวมใส่เครื่องประดับ ขอให้เก็บใส่กล่องเครื่องประดับที่มีผ้ารองและจัดแบ่งเป็นช่อง ๆ
  • ระวังอย่าให้เครื่องประดับของท่านถูกน้ำเกลือหรือสารเคมีรุนแรง เช่น คลอรีน
  • อย่าสวมใส่เครื่องประดับเงินลงไปในน้ำที่มีคลอรีน
  • การใช้สเปรย์แต่งผม เครื่องสำอาง โลชั่นถนอมผิว และน้ำหอม อาจทำให้เครื่องประดับหมอง ดังนั้น ให้สวมใส่เครื่องประดับหลังจากที่ใช้สิ่งเหล่านี้แล้วเพื่อให้เครื่องประดับคงความแวววาว
  • ให้เก็บเครื่องประดับเงินในที่แห้ง ไม่สัมผัสอากาศ ถ้าเป็นไปได้ให้ใส่ไว้ในถุงผ้ากันหมองหรือห่อด้วยผ้าหรือสักหลาดนุ่ม ๆ
  • เป็นสิ่งที่ดี หากท่านสามารถนำไข่มุกไปที่ร้านจิวเวลรี่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจเช็คเส้นไหมที่ใช้ร้อยไข่มุกและให้ร้อยใหม่เพราะการสวมใส่ตามปกติมักทำให้เส้นไหมเกิดการหย่อน
  • เมื่อท่านนำไข่มุกไปร้อยใหม่ จะแน่ใจว่า มีการผูกปมระหว่างไข่มุกแต่ละเม็ด จะช่วยป้องกันมุกสูญหายกรณีที่เส้นไหมขาด
  • จงเปลี่ยนหน้าปัดคริสตัลของนาฬิกาข้อมือเมื่อมีรอยแตกหรือมีรอยขูดขีดทันที แม้รอยบิ่นที่เล็กที่สุดก็อาจปล่อยให้ฝุ่นละอองหรือความชื้นเข้าไปส่งผลให้นาฬิกาเดินไม่เที่ยงตรง
  • ไข่มุก ปะการังและพลอยเนื้อพรุน เช่น โอปอล เทอร์คอยส์และมาลาไคต์ ควรเก็บให้ห่างจากน้ำมันสารเคมีและน้ำสกปรก เพื่อจะได้ไม่ทำให้สีซีดหมอง ควรเช็ดเบา ๆ ด้วยผ้านุ่มชุบน้ำ
  • ไม่ควรใช้เครื่องทำความสะอาดแบบอัลตราโซนิกกับอัญมณีประเภทแทนซาไนต์ โอปอล มรกต อัญมณีอินทรีย์ (ไข่มุก ปะการัง อำพัน) เทอร์คอยส์ ลาปีส มาลาไคต์ และพลอยอื่น ๆ ที่มีตำหนิมลทินมาก
  • โอปอล ไข่มุก ปะการัง อำพันและเทอร์คอยส์ ไม่ทนต่อความร้อน (ทั้งที่มีอุณหภูมิสูงและเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิฉับพลัน) จึงไม่ควรวางไว้กลางแดดร้อนจัด ใกล้หม้อน้ำหรือท่อน้ำร้อนหรือในรถยนต์ที่ร้อนจัด

ที่มาบทความ https://www.git.or.th/thai/news/pr_news/2014/gems_thai_eng.pdf

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *