จิตวิทยาความเชื่อสีในอาหาร

อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์และจำเป็นในการดำรงชีวิตคนไทยตลอดทุกยุคทุกสมัย ในสมัยโบราณปรากฏบันทึกหลักฐานยืนยัน ว่าในสมัย ร. 5 ทรงเสด็จออกดูแลประชาชนโดยการปลอมพระองค์ไม่ใช้ชาวบ้านรู้ พระองค์ได้เสด็จทางเรือ ได้แวะเข้าบ้านเรือนของชาวบ้านสนทนาสารทุกข์ สุขดิบ และทรงทำอาหารด้วยพระองค์เอง จากบันทึกหลักฐานนี้ชี้ให้เห็นความใกล้ชิดของพระองค์กับชาวบ้าน และทรงโปรดการทำอาหารด้วยตัวพระองค์เองสังคมไทยในสมัยก่อนเมืองไทยเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหาร มีคำกล่าวไว้ในสมัยนี้ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แสดงถึงชนบทที่มีการทำการเกษตรกรรม ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรตามธรรมชาติ เช่น มีแหล่งน้ำ มีดินดีทำให้สามารถทำการเพาะปลูกพืชหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปีสามารถนำพืชมาทำอาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น ขนมไทย ขนมชั้น ขนมปลากริม ไข่เต่า วัตถุดิบจะได้จากพืชตามธรรมชาติ เช่น ลูกตาล มะพร้าว ข้าวเหนียวและไม้ผลอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ในสมัยปัจจุบันก็ยังสืบทอดวิธีการทำอาหารไทย ขนมไทยต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ในสมัยปัจจุบันก็ยังสืบทอดวิธีการทำอาหารไทย ขนมไทยต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมของไทยสืบต่อมา

จิตวิทยาความเชื่อสีในอาหาร

นักจิตวิทยาแห่งการกินได้กล่าวไว้ว่า ถึงแม้ว่า อาหารที่ปรุงแต่งขึ้นมาจะอร่อยและน่ารับประทานเพียงใด ถ้าจิตใจคนไม่อยู่ในสภาพที่จะรับประทาน ก็จะไม่รับประทานอาหารนั้น เช่น มีใจรันทด หดหู่ โกรธ หรือตื่นเต้น ยินดีในสิ่งใดเป็นพิเศษก็ไม่กินอาหาร การตกแต่งอาหารด้วยสีจึงเป็นเรื่องความเชื่อความรู้สึกและอารมณ์ของคนกิน การทำให้ผู้บริโภคเกิดรู้สึกชื่นชม ยินดีที่ได้สัมผัสสีจากอาหารเป็นเบื้องต้น ทำให้เกิดความสบายใจ สนใจ และอยากจะลิ้มลองในรสชาติของอาหาร ในวงสนทนามักจะได้ยินคำว่า อาหารชนิดนี้มีส่วนผสมอะไรบ้างในการปรุง ซึ่งก็จะมีความเห็นว่าสีน่ากิน โดยที่ยังไม่เคยรับประทานอาหารนั้น สีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคล่วงหน้า ด้วยเกิดความชื่นชม ยินดี ตามสีสันดังกล่าว ผลที่ตามมา คือ การอยากลิ้มลองรสชาติของอาหารนั้น ในขนมเด็กจึงมีที่สดมาก ๆ เพราะเด็ก ๆ จะชอบสีที่สด ๆ พบเห็นทั่วไปจากสีลูกกวาดต่าง ๆ หรือขนมขบเคี้ยวอื่น ๆ ซึ่งใช้สีสังเคราะห์ผสม จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ถ้าใส่ในปริมาณเกินมาตรฐานการควบคุมขององค์การเภสัชกรรมซึ่งเป็นความผิด ตามกฎหมายควบคุมควรใช้สีจากธรรมชาติเพราะเป็นสีที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ข้อเสียจะไม่สด ผู้ผลิตมักไม่นิยมใช้ เนื่องจาก ขั้นตอนในการสกัดยุ่งยาก แหล่งวัตถุดิบก็ไม่เพียงพอ

สีจากธรรมชาติได้จาก พืช และสัตว์ มีหลากหลายสีด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  • สีแดง ใช้ส่วนของกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงที่หุ้มฝัก นำไปต้มให้เดือด
  • สีเหลือง ใช้ขมิ้น ปอกเปลือก นำไปโขลกให้ละเอียดเล็กน้อย แล้วเทใส่ผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำฟักทอง ใช้ฟักทองต้มสุกบดให้ละเอียด นำไปผสมกับแป้งที่จะใช้ทำขนม ดอกคำฝอยใช้เฉพาะกลีบดอก นำไปตากแห้ง จากนั้นนำมาต้ม ใส่น้ำพอให้ท่วม คนให้เดือดนาน 5 นาที กรองเอาแต่น้ำดอกกรรณิการ์ให้สีเหลืองทอง เด็ดเอาเฉพาะท่อเกสรของดอก หยดน้ำใส่นิดหน่อยแล้ว คั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง
  • สีเขียว หั่นใบเตยให้เป็นฝอย แล้วนำไปโขลกให้แหลก จากนั้น เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้น ก่อนนำไปใช้ให้กรอด้วยผ้าขาวบาง
  • สีดำ นำกากมะพร้าวไปเผาไฟ บดละเอียดแล้วผสมน้ำ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง บางครั้งได้จากการนำถั่วดำมาบด หรือตำแล้วคั้นน้ำนำมากรอง
  • สีม่วง นำลูกผักปรังสุก หุ้มด้วยผ้าขาวบาง แล้วคั้นเอาน้ำ
  • สีน้ำตาล ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลด้วยไฟอ่อน ๆ จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นอกจากให้มีน้ำตาลแล้วยังให้กลิ่นหอมของน้ำตาลด้วย หรืออาจจะดัดแปลงด้วยการใส่ผงโกโก้ก็ได้ แต่รสชาติที่ได้อาจเปลี่ยนไป สู้ใช้น้ำตาลเคี่ยวไม่ได้
  • สีน้ำเงิน ใช้ดอกอัญชัน ใส่ถ้วยเติมน้ำนิดหน่อย แล้วบี้ใหช้ำ เทใส่ผ้าขาวบาง แล้วคั้นเอาแต่น้ำ แต่ดอกอัญชันยังสามารถใช้ทำสีม่วงได้อีกด้วย โดยเติมน้ำมะนาวลงไปในอกอัญชันที่คั่นแล้ว

การใช้สีในการตกแต่งอาหารที่เด่นชัดเป็นการตกแต่งหน้าเค้ก ซึ่งมีหลักการตกแต่งดังต่อไปนี้ การใช้สีในการตกแต่งหน้าเค้กนั้น นิยมใช้สีอ่อนมากกว่าสีสด และนิยมใช้สีกลมกลืนกันมากกว่าสีตัดกัน เหตุผลน่าจะเป็นความรู้สึก ดังนี้

การใช้สีอ่อนและการใช้สีกลมกลืน ทำให้เค้กดูนุ่มนวล และมีความน่ารับประทาน การใช้สีสดและสีตัดกัน จะทำให้เค้กมีความรู้สึกรุนแรง จัดจานไม่น่ารับประทาน เท่ากับสีอ่อนและสีกลมกลืน แต่เหมาะใช้งานที่อยู่ไกลจากสายตาผู้คน เช่น งานแต่งงาน สามารถใช้สีสดได้ แต่ไม่ควรใช้ทั้งหมดชิ้นงาน สีอ่อนสีเดียว เป็นการใช้สีในปริมาณน้อย เพื่อให้สีอ่อน น่ารับประทาน และสีอ่อนสามารถร่วมกับสีทุกสีได้ สีอ่อนสีกลมกลืน เป็นการใชสีโทนเดียวกัน คือ โทนร้อนหรือโทนเย็น แต่ใช้ค่าน้ำหนักสีแตกต่างกัน สีสดสีเหลือบ เป็นการใช้สีกลมกลืน แต่มีความเข้มของสีเพียงสีเดียว หรือหลายสี นำมาผสมกันเป็นหลายสี สีสดสีตัดกัน เป็นการใช้โทนสีตรงข้ามกัน คือ โทนร้อนและโทนเย็น ทำให้ลวดลายดูเด่น แต่ไม่นิยมเพราะเค้กอยู่ใกล้ตา

ทุกวันนี้ อาหารล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ แต่สำหรับคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อพูดถึงอาหารไทยแล้วคนทั่วโลกก็ย่อมรู้จักเพราะอาหารส่วนใหญ่จะมีสีสันที่สวยงามและวิจิตร ไม่เหมือนกับชนชาติใด ๆ คนไทยรู้จักนำพืชผัก ผลไม้ และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของผลผลิตทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งสิ้น โดยสีที่เกิดขึ้นมาจากสิ่งต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น

  • สีแดง มาจาก แตงโม มะเขือเทศ สตรอเบอรี่ ดอกสารภี
  • สีเขียว มาจาก ใบเตย ใบย่านาง ผักใบเขียว
  • สีเหลือง มาจาก แตงโมเหลือง มันเหลือง ขมิ้น มะตูม
  • สีส้ม มาจาก ส้ม แครอท
  • สีน้ำเงิน มาจาก ดอกอัญชัน
  • สีดำ มาจาก กะลามะพร้าว กระถินหอม สมอไทย
  • สีขาว มาจาก กะทิ เผือก
  • สีม่วง มาจาก มันม่วง มังเคร่ เป็นต้น

สีสันของอาหารเป็นสิ่งแรกก่อนที่คนเราจะตัดสินใจซื้ออาหารชนิดนั้น และสีของอาหารยังมีอิทธิพลต่อความรู้สึกที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการบริโภคอาหารนั้น เพราะอาหารที่มีสีสันน่ารับประทานเป็นตัวดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออาหารได้เร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งสีของอาหารที่มีผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคทั้งด้านดีและด้านร้ายไว้ดังนี้

  • อาหารที่มีสีขาวและสีน้ำตาล จะถูกเลือกรับประทานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะมีความเชื่อ สีขาว คือ สีที่สะอาด
  • อาหารที่มีสีดำและสีน้ำเงิน ผู้บริโภคจะมองว่า ไม่สะอาด และทำให้ไม่เกิดอาการอยากทานอาหารชนิดนั้น เพราะสีดำ หมายถึงความโศกเศร้า
  • อาหารที่มีสีแดง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเจริญอาหาร รับประทานได้มากขึ้น
  • อาหารที่มีสีเขียว จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย และสุขภาพแข็งแรง
  • อาหารที่มีสีชมพู ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารประเภทของหวาน และทำให้อาหารดูมีรสชาติน่ารับประทานมากขึ้น

  ในทางการแพทย์ยังมีการกล่าวถึง คุณประโยชน์ของการกินผัก 5 สี โดยผู้เชี่ยวชาญ คือ นพ. วิเรนทร์ มัลโฮตรา แนะนำการกินผัก 5 สีหลัก ประกอบด้วย

  • สีแดง ได้จากมะเขือเทศ ทับทิม อะเซโรลา เชอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิลแดง
  • สีเหลืองส้ม ให้เบต้าแคโรทีน ได้จาก ส้ม มะนาว แครอท
  • สีเขียว ได้จากบรอกโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี ผักขม วอร์เตอร์เครส
  • สีม่วง – น้ำเงิน ได้จาก กะหล่ำปลีม่วง ดอกอัญชัน บรูเบอร์รี่ องุ่นม่วง และ
  • สีขาว ได้จากกระเทียม หอมใหญ่ ลูกแพร์

ในปัจจุบันร้านอาหารต่าง ๆ มักจะตกแต่งอาหารให้ดูน่ารับประทาน เพื่อดึงดูดให้คนเข้าร้านมาก ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *