วันไชยาดิถี วันริตตาดิถี วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค วันราชาโชค

วันไชยาดิถี

คือ ถ้าเดือนใดก็ตามที่ขึ้นหรือแรม 3 ค่ำ 8 ค่ำ 13 ค่ำ ตรงกับวันอังคาร ชื่อว่า “วันไชยาดิถี”

มีประวัติว่า มีพระราชาองค์หนึ่งไปทำสงครามกับเมืองอื่น แต่ไม่ชนะจึงเสด็จกลับมา แล้วถามปุโรหิตหมอโหรประจำราชสำนัก โหรได้กราบทูลว่า ให้สร้างศาตราวุธ เครื่องใช้ในการรบทุกอย่างในวันไชยาดิถี รวมถึงสร้างกลองไชยเภรีหรือหุ้มกลองในวันนั้น แล้วให้ตีกลองไชยาเภรีนั้น ในขณะไปรบเมืองอื่น แล้วจะสามารถชนะเมืองเหล่านั้นจะเกรงกลัว อำนาจพ่ายแพ้ไป โบราณอาจารย์จึงกำหนดวันไชยดิถีเป็นวันมงคลดังคำท่านอธิบายว่า เป็นโคลงว่า

ไชยารังแรกสร้าง อาวุธา

ยกพวกพลโยธา ปราบด้าว

เรียนคุณศาตรสิปปา จบเพศ มวลเหย่

เดชรามลือย้าว ผาบเผี้ยนศัตรู (พระมหาราชครู)

ไชยาควรแรกสร้าง แปงเมือง

ตกแต่งอาวุธเรือง รบข้า (ฆ่า)

เลี้ยงพวกริพลเนือง ฤทธิ์เดช มีเหย่

จาคำเมืองแกล้วกล้า ต่อท้าสงคราม (พระครูอดุลสีลกิตติ์)

วันริตตาดิถี

คือ ถ้าเดือนใดก็ตามที่ขึ้นหรือแรม 4 ค่ำ 9 ค่ำ 14 ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ ชื่อว่า วันริตตาดิถี

มีประวัติว่า มีเสนาผู้หนึ่งไปเข้าเฝ้าพระราชาทุกวัน แต่ไม่ได้รับความดีความชอบอะไร ไม่ได้รับความสนใจ จึงคิดว่า ตนเองก็ได้ทำความดีเข้าเฝ้าพระราชาเหมือนคนอื่น แต่ทำไมจึงไม่ได้ผลตอบแทน จึงไปถามปุโรหิตว่าควรทำเช่นใด ปุโรหิตจึงบอกว่า เมื่อถึงวันริตตาดิถี ให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ลูบไล้กระแจะจันทร์ประทิ่นกลิ่นหอมแล้วจึงเข้าเฝ้าพระราชา เสนาผู้นั้นจึงได้ทำตามทุกประการ เมื่อเข้าเฝ้าพระราชาจึงคิดได้ว่า เสนาผู้นี้มาเฝ้าเราอยู่ตลอด แต่เราก็ไม่ได้ปูนบำเหน็จรางวัลอะไรให้เลย พระราชาจึงพระราชทานเสื้อผ้าอย่างดี และผ้าโพกศีรษะและแหวนที่มีค่ามากให้แก่เสนาผู้นั้น เสนาผู้นั้นจึงตอบแทนปุโรหิตด้วยข้าวของเป็นอันมาก โบราณจารย์จึงกำหนดวันริตตาดถีเป็นวันมงคลดี ดังคำท่านอธิบายเป็นโคลงว่า

ริตตาสวนไร่สร้าง ทำนา

ควรปลูกฝังพิชชา ลูกล้วน

สัพพะหมู่ผลา เงยงอก งามเหย่

ก็เที่ยงสมฤทธิ์ถ้วน พร่ำพร้อมทุกประการ (พระมหาราชครู)

ริตตาควรปราบเผี้ยว หนทาง

แสนสิ่งแก้วแหวนดาง ขอดไว้

คัลเจ้าหมู่ขุนนาง อามาตย์ ดีเหย่

สู่ขวัญมาพร้อมใกล้ นุ่งผ้าตัดผม (พระครูอดุลสีลกิตต์)

วันปุณณาดิถี

คือ (เดือนใดก็ตามที่ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ 10 ค่ำ 15 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดี ชื่อว่า วันปุณราดิถี

มีประวัติว่า มีเมืองหนึ่งเกิดอาเพศ ทำให้ผู้คนหนีหายไป ทิ้งเมืองให้ร้าง พระราชาจึงถามปุโรหิตว่า ทำไมบ้านเมืองถึงเสื่อมถอย ผู้คนก็หนีจากไปเป็นเพราะอะไร ปุโรหิตจึงทูลแนะนำให้พระราชาย้ายเมืองไปอยู่ที่ใหม่ สร้างเมืองใหม่ เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ แล้วเข้าไปอยู่ใหม่ในวันปุณณาดิถี พระราชาก็ทรงทำตาม บ้านเมืองจึงเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้คนทั้งหลายมั่งมีศรีสุข โบราณจารย์จึงกำหนดให้วันปุณราดิถีเป็นวันมงคลดี ดังคำอธิบายเป็นโคลงว่า

ปุณรานำเข้าถอก เต็มฉาง

ถงใหม่หยิบเงินวาง เที่ยงเท้า

ทาสาไถ่นงค์นาง แต่โคตร มาเหย่

ควรแก่สังฆเจ้า ก่อสร้างเรียนธรรม (พระมหาราชครู)

ปุณณาริรั่งสร้าง เวียงวัง

แถมเตื่อมยศนามัง ใหม่หม้า

ปราการที่หลุพัง แรกก่อ ดีเหย่

เรียนเวทมนต์เข้มกล้า ร่ำรู้ จบถอง (พระครูอดุลสีลกิตติ์)

วันอมริสสโชค วันไชยโชค วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค วันราชาโชค

วันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม 11 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค เป็นวันโชคหลวงมหาวัน

วันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม 6 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันจันทร์ ขึ้นหรือแรม 3 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันจันทร์ ขึ้นหรือแรม 3 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันจันทร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันจันทร์ ขึ้นหรือแรม 12 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันจันทร์ ขึ้นหรือแรม 3 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันอังคาร ขึ้นหรือแรม 9 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันอังคาร ขึ้นหรือแรม 11 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันอังคาร ขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันอังคาร ขึ้นหรือแรม 13 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันอังคาร ขึ้นหรือแรม 9 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันพุธ ขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันพุธ ขึ้นหรือแรม 7 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันพุธ ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันพุธ ขึ้นหรือแรม 4 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันพุธ ขึ้นหรือแรม 6 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม 4 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม 4 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม 9 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม 7 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันศุกร์ ขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันศุกร์ ขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันศุกร์ ขึ้นหรือแรม 11 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันศุกร์ ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันศุกร์ ขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เป็นวันอมริสสโชค วันโชคดี

วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 11 ค่ำ เป็นวันไชยโชค วันมีชัย

วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 4 ค่ำ เป็นวันสิทธิโชค วันโชคใหญ่

วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ เป็นวันมหาสิทธิโชค วันโชคหลวงมหาวัน

วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เป็นวันราชาโชค วันพระยาโชค

ที่มาบทความ วันดี วันเสีย ฤกษ์ยาม ตามปฏิทินล้านนา ฉบับวัดธาตุคำ https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/tLAfmFTcHRfxBwOCzDOqKJSib70N2XMtOinGyrMk.pdf

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *