ลักษณะและสาเหตุของพฤติกรรมเบี่ยงเบน

พฤติกรรมเบี่ยงเบนมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  1. พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมเพียงบางระดับ บางเวลา และบางบุคคล เช่น เมื่อไปเที่ยวเธคบุคคลจึงทำสีผม แต่งกายล้ำสมัย และสนุกสนานกับสุดเหลี่ยง
  2. บุคคลควบคุมตนเองได้น้อยลง เนื่องจาก สาเหตุสำคัญ คือ เนื่องจาก สถานการณ์กดดัน เช่น วิกฤติการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น และเนื่องจาก ความอ่อนแอทางพฤติกรรมของบุคคล เช่น อุปนิสัย ตามใจตนเอง จิตใจอ่อนแอหวั่นไหวง่ายจึงติดสุรา ยาเสพติด เป็นต้น
  3. พฤติกรรมเบี่ยงเบนเชื่อมโยงต่อกันในระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มและองค์กร เช่น กลุ่มวัยรุ่น แก๊งโจร กลุ่มหญิงบริการทางเพศ เป็นต้น
  4. พฤติกรรมเบี่ยงเบนเกิดจากการตัดสินใจของกลุ่มที่มีอำนาจในสังคม ได้แก่ รัฐบาลกลุ่มจารีต กลุ่มอนุรักษ์ เป็นต้น เช่น กลุ่มจารีตและกลุ่มอนุรักษ์ถือว่า การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นต้น
  5. พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาสังคม เช่น โสเภณีเด็ก ทำให้เกิดปัญหาด้านจริยธรรม ยาเสพติด อาชญากรรม สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม เป็นต้น
  6. พฤติกรรมเบี่ยงเบนทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ระบบสังคมและวัฒนธรรมใหม่ได้ เช่น การปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติทางการเมือง เป็นต้น
  7. พฤติกรรมเบี่ยงเบน ถือว่า เป็น “ขบถสังคม” ต้องลงโทษหรือจำกัดให้หมดไป โดยกระบวนการทางสังคมนั้น ๆ
  8. พฤติกรรมเบี่ยงเบนบางประเภทเป็นเพียงการกระทำที่ผิดจากจารีตประเพณี หรือผิดแผกแตกต่างจากความคาดหวังของคนทั่วไป หรือเป็นการปฏิบัติที่คนส่วนใหญ่รู้สึกขวางหูขวางตา ผิดปกติ วิตถาร หรือ เลว เช่น รักร่วมเพศ เป็นต้น
  9. ไม่สามารถกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้ว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน เพราะการกระทำบางอย่างสำหรับกลุ่มหนึ่ง หรือยุคสมัยหนึ่งอาจเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนแต่กลับเป็นพฤติกรรมปกติหรือเป็นที่ยอมรับในอีกกลุ่มหนึ่งหรือยุคสมัยหนึ่งก็ได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนในสังคมไทย แต่เป็นที่ยอมรับและเป็นพฤติกรรมปกติสังคมตะวันตก หรือในปัจจุบันสังคมไทยยอมรับพวกรักร่วมเพศมากกว่าเมื่อก่อน เป็นต้น
  10. ผลของพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีทั้งให้โทษและเป็นคุณแก่สังคม ไม่ใช่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมเพียงด้านเดียว เช่น โสเภณีช่วยลดการกระทำทางเพศหรือการข่มขืนได้ หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ และกลายเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับในเวลาต่อมาก็ได้ เช่น พฤติกรมของผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนา นักวิทยาศาสตร์บางคนที่ริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในสังคม แต่ถูกต่อต้านในระยะแรกแล้วเป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา เป็นต้น

พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมเพียงบางระดับ บางเวลาและบางบุคคลซึ่งเชื่อมโยงต่อกันในระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มและองค์กร บุคคลจะมีการควบคุมตนเองได้น้อยลง อันเนื่องมาจากสถานการณ์กดดันหรือความอ่อนแอทางพฤติกรรมของบุคคล พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาสังคม ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ระบบสังคมและวัฒนธรรมใหม่ได้ ถือว่า เป็นขบถสังคมต้องลงโทษหรือจำกัดให้หมดไป โดยกระบวนการทางสังคมนั้น แต่ไม่สามารถกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้ว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน ดังนั้น ผลของพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีทั้งให้โทษและเป็นคุณแก่สังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศบางอย่างก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์และกลายเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับในเวลาต่อมาได้

สาเหตุการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน

สาเหตุการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนมี 7 ประการ ดังนี้

  1. เกิดจาพันธุกรรมหรือการสืบสันดานทางชีววิทยา โดยเชื่อว่า เมื่อพ่อแม่เป็นโจรลูกที่เกิดมาก็จะเป็นโจรด้วย แต่สาเหตุนี้ไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก
  2. เกิดจากผลการกระทำต่อกันทางสังคม ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการเลียนแบบหรือเอาอย่างในพฤติกรรมที่ผิดไปจากบรรทัดฐานนั้น ๆ
  3. เกิดจากสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธภาพแบบใกล้ชิด โดยเฉพาะบิดา มารดากับบุตร ถ้าสัมพันธภาพเป็นแบบห่างเหินปล่อยปละละเลยขาดความอบอุ่นปล่อยให้อยู่ตามยถากรรมแล้ว จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น
  4. บุคคลอยู่ในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมของตนเอง เมื่อมาอยู่ในสังคมที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ อาจทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและบรรทัดฐานของสังคมใหม่ ทำให้พฤติกรรมแตกต่างไปจากผู้คนอื่น ๆ กลายเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน
  5. เกิดจากความขัดกันของบรรทัดฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น แม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกแต่แม่เป็นคนยากจนและมีลูกหลายคน จึงจำเป็นต้องขโมยทรัพย์สินของคนอื่นเพื่อมเลี้ยงลูกของตน เป็นต้น
  6. การประทับตราของสังคม ทำให้ต้องกลายเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ถูกตราหน้าว่าเป็นโสเภณีก็เลยไปมีอาชีพเป็นโสเภณีถูกตราหน้าว่า เป็นเมียน้อยก็เลยไปเป็นเมียน้อยเป็นต้น
  7. เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่คาดหวังกับวิถีทางที่บุคคลเลือกปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อบุคคลอยากจะได้อยากจะมี อยากจะเป็นสิ่งใดก็ตามก็จะหาวิธีการตอบสนองความต้องการ แม้ว่า จะเป็นวิธีที่ผิดบรรทัดฐานทางสังคมก็ตาม ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีความเกี่ยวข้องทางด้าน พันธุกรรม หรือการสืบค้นสันดานทางชีวภาพ การกระทำที่ทำต่อสังคมมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้มีการเรียนรู้ เลียนแบบในบรรทัดฐานที่แตกต่างจากบุคคลอื่น เกิดความขัดกันของบรรทัดฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่คาดหวังกับวิถีทางที่บุคคลเลือกปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *