พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยภาคบังคับ

พ.ร.บ.เป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งจะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และทางกรมการขนส่งต้องใช้ประกอบในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีด้วย ซึ่งทางบริษัทฯได้อำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าต่อภาษีประจำปี พร้อมชำระค่า พ.ร.บ. เพื่อดำเนินการพร้อมกันด้วย

วัตถุประสงค์หลักของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

รถยนต์ที่ต้องทำประกันภัย คือ รถยนต์ทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ และหมายรวมถึง รถพ่วงของรถนั้นด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. คือ การทำประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2522 ให้ทุกคันต้องมีโดยจะคุ้มครองแค่ “บุคคล” เท่านั้น

ความสำคัญของ พ.ร.บ.รถยนต์

เนื่องจาก พ.ร.บ.รถยนต์เป็นประกันภัยชนิดหนึ่ง สามารถจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้โดยจ่ายไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน ในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร จะชดเชยจำนวน 200,000 บาท และหากว่าต้องรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลในฐานะคนไข้ใน จะได้รับวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

ถ้าไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ จะต้องเสียอะไรบ้าง?

ถ้าไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับ เนื่องจาก ไม่แสดง พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่เกิน 1,000 บาท และหากเราไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนใหญ่การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์จะทำควบคู่ไปกับการต่อทะเบียนรถยนต์ เอกสารที่ต้องเตรียมมีแค่สำเนาทะเบียนและบัตรประชาชน 1 ใบ มีบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับทำ โดยสามารถไปต่อได้ที่กรมขนส่งในแต่ละจังหวัดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ แต่ในยุคใหม่อินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากขึ้น โดยสามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์และทะเบียนรถยนต์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง https://eservice.dlt.go.th ลงทะเบียนตามจริง เพื่อรับ พ.ร.บ.รถยนต์ และทะเบียนรถยนต์ ทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อมูลประเภทรถ ทะเบียนรถ และผู้ครอบครองตามทะเบียนรถ และสามารถชำระเงินได้ทันที เมื่อชำระเงินเรียบร้อย ทางกรมการขนส่ง จะส่ง พ.ร.บ.รถยนต์ และทะเบียนรถยนต์ทางไปรษณีย์ที่บ้าน ภายใน 7 วัน

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร?

อัตรา ราคา พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายกำหนดของรถแต่ละประเภท (รวมภาษี 7% แล้ว)

ประเภทรถยนต์พ.ร.บ. (บาท)
รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)645.21
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คนไม่เกิน 15 ที่นั่ง รถตู้1,182.35
รถยนต์โดยสารเกิน 15 คน ไม่เกิน 20 ที่นั่ง2,203.13
รถยนต์โดยสารเกิน 20 คน ไม่เกิน 40 ที่นั่ง3,437.91
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง4,017.85
รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (ปิคอัพ)967.28
รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง 6 ตัน1,310.75
รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน1,408.12
รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน1,826.49

ทั้งนี้ เมื่อไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์กับตัวแทนประกันต่าง ๆ ก็จะมีส่วนลดทำให้ราคาถูกกว่าที่กฎหมายกำหนด แน่นอนส่วนจะลดมากลดน้อยก็แล้วแต่ประกันค่ะ

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ซึ่งนักขับหน้าใหม่หลายท่านอาจโยนภาระนี้ให้ไฟแนนซ์จัดการ และเสียค่าบริการตั้งแต่ 100 – 500 บาทเลยทีเดียว ทั้งนี้ การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์และการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น ทำปีละครั้งหากมีเอกสารพร้อม รู้ขั้นตอนแล้ว ไปทำที่ขนส่งไม่เกิน 1 ชั่วโมงก็เสร็จแล้วค่ะ หรือผู้ที่ไม่มีเวลาก็จัดการต่อได้ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่ง https://eservice.dlt.go.th รับรองคุ้มกวาที่จะไปเสียเงินรับบริการแน่นอนค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *