การป้องกันโรคอ้วนในเด็กด้วย

โรคอ้วนในเด็กจะทำให้เด็กเคลื่อนไหวลำบาก เคลื่อนไหวเชื่องช้า และหากเกิดการพลัดตกหกล้มจะเจ็บมากกว่าเด็กที่ไม่อ้วน กระดูก และข้อต่อเสื่อมสภาพเร็วกว่าวัยอันควร เนื่องจาก ต้องรับน้ำหนักตัวมาก โรคอ้วนจะทำให้เกิดโรคเบาหวาน เด็กที่อ้วนมากจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย ทำให้เกิดโรคเบาหวาน คล้ายในผู้ใหญ่ได้โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตาไต ระบบประสาท และหัวใจตามมาได้ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้ที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารมัน อาหารทอด และอาจเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เนื่องจาก เด็กที่อ้วนมักมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่าย และเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เนื่องจาก เด็กอ้วนมักเกิดอาการนอนกรน บางรายมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นร่วมด้วย ซึ่งมีผลทำให้เลือดมีออกซิเจนน้อยลงขณะหลับ ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีปัญหาภาวะหัวใจโต นอกจากนี้ โรคอ้วนในเด็กจะทำให้เกิดไขมัสะสมในตับ เกิดตับอักเสบ มีปัญหาทางไต ปัญหาทางด้านจิตใจ เนื่องจาก ถูกเพื่อนล้อ ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่อยากไปโรงเรียนหรือไม่อยากเข้าสังคม

การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

1. การป้องกันโรคอ้วนในเด็กด้วยการควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหาร เป็นการควบคุมปริมาณสารอาหาร และพลังงานที่เด็กควรได้รับให้เหมาะสม โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เนื่องจาก เด็กในวัยนี้จะชอบรับประทานอาหารประเภทขนมของหวานมาก หากไม่ควบคุมจะทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ง่าย

2. การป้องกันโรคอ้วนในเด็กด้วยเพิ่มการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการป้องกันโรคอ้วน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเผาพลาญพลังงานส่วนเกินได้ และไม่เกิดการสะสมพลังงานในร่างกาย ซึ่งในการออกกำลังกายอาจเป็นการออกกำลังกายโดยตรง อาทิเช่น การพาเด็กออกวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬาในวันหยุด หรือไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายทางอ้อม เช่น การฝึกให้เด็กปัดกวาดบ้าน เช็ดถูบ้าน เป็นต้น

3. การป้องกันโรคอ้วนในเด็กด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • พฤติกรรมหลายอย่างที่ช่วยส่งเสริมการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ได้แก่ การฝึกให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เป็นต้น
  • การควบคุมปัจจัยที่เอื้อต่อการบริโภคอาหาร ได้แก่ การไม่ซื้ออาหารพวกของหวาน ขนมเก็บไว้ในบ้าน และการให้อิสระในการตักอาหารหรือการเลือกกินอาหารให้แก่เด็ก การดูโทรทัศน์ และการดูโทรทัศน์ไปด้วย รวมทั้งการปล่อยให้เด็กกินอาหารเพียงลำพัง หรือการตักอาหารให้เด็กมากเกินความจำเป็น เป็นต้น
  • การให้รางวัล คำชมเชย จะทำให้พฤติกรรมที่พยายามป้องกันโรคอ้วนนั้นคงอยู่และมีกำลังใจที่จะทำต่อไป

ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ตัวเด็ก

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันโรคอ้วนที่ตัวเด็ก คือ ทัศนคติความเข้าใจ และข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่อโรคอ้วน เด็กต้องมีข้อมูลมากพอเรื่องความอ้วน ปัญหา สาเหตุ วิธีแก้ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันตัวเองจากโรคอ้วน เด็กต้องเข้าใจว่า ปัจจัยใหญ่ที่สุดที่จะทำให้ตัวเองเป็นโรคอ้วน คือ การรับประทาน และการเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวัน หากเด็กมีความตระหนักถึงพิษภัย และสาเหตุของการเป็นโรคอ้วน และการเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวัน หากเด็กมีความตระหนักถึงพิษภัย และสาเหตุของการเป็นโรคอ้วน การดำเนินชีวิตอย่างมีหลักการในเรื่องการรับประทาน และการใช้พลังงานของร่างกาย ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกาย ก็สามารถป้องกันโรคอ้วนได้

2. บิดามารดาผู้ปกครอง

บิดา – มารดา และคนในครอบครัวมีอิทธิพลสำคัญมากที่สุดที่จะทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน อิทธิพลนี้มาจากสองปัจจัย คือ การสั่งสอนทางวาจา และการเป็นแบบอย่าง บิดามารดผู้ปกครองต้องเข้าใจเรื่องโรคอ้วนอย่างถูกต้อง การสั่งสอนทางวาจาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างทัศนคติที่ถูกต้องแก่เด็ก แต่การสั่งสอนที่อาจได้ผล คือ การยึดคนในครอบครัวเป็นแบบอย่างโดยการทำให้ดู เช่น การสอนวิธีการรับประทานที่ถูกต้อง การเลือกอาหารที่ไม่มีไขมันสูงนิสัยการรับประทานที่ดี การเคี้ยว การไม่รับประทานจุบจิบ การไม่ดื่มน้ำอัดลม รวมถึงการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน ผ่านการทำงานบ้าน เป็นต้น พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสร้าง “วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบไม่อ้วน” ขึ้นในครอบครัวเป็นบทบาทของครอบครัวจะป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคอ้วน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *