ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนทางร่างกาย

1. การเจริญเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มสามเร็ว

ในเด็กที่อ้วนจะมีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายมาก มักเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ผลจากการที่เด็กมีน้ำหนักมากหรืออ้วน โดยเฉพาะเด็กหญิงจะมีประจำเดือนเร็วกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติในวัยเดียวกัน (โดยทั่วไปเด็กหญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุเฉลี่ย 11 – 12 ปี) แต่ในเด็กอ้วนมักจะมีเร็วกว่า และยังพบว่า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเพิ่มของปริมาณไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก และความสม่ำเสมอของการมีประจำเดือน ซึ่งเด็กอาจจะยังไม่พร้อมที่จะดูแลตนเองได้ และบ่อยครั้งแพทย์พบว่า เด็กมีหน้าอกก่อนอายุ 8 ปี ภาวะนี้อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา

2. โรคข้อและกระดูกเด็กและวัยรุ่นที่อ้วน

โรคข้อและกระดูก เด็กและวัยรุ่นที่อ้วน พบว่า มีความผิดปกติของกระดูกและข้อ ร้อยละ 50 – 70 เด็กอ้วนจะมีอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อต่าง ๆ เช่น กระดูกสันหลังข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า มีการเคลื่อนไหวลดลง เท้าแบน ทำให้เดินลำบากและมีท่าเดินที่ผิดปกติ น้ำหนักตัวที่มากเกินวัย จะกดลงลนกระดูกอ่อนและแผ่นเยื่อเจริญของกระดูกขาของเด็ก ทำให้เกิดความผิดปกติของข้อที่รับน้ำหนักโดยเฉพาะข้อเข่า พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ขาโก่ง ซึ่งเด็กเล็กที่เป็นโรคอ้วน จะมีขาโก่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากน้ำหนักตัวทำอันตรายต่อแผ่นเยื่อเจริญกระดูกเข่าด้านใน ส่วนวัยรุ่นโรคอ้วนมักมีขาท่อนบนใหญ่ ทำให้เกิดอันตรายต่อหัวกระดูกและต้นขา เกิดโรคหัวกระดูกสะโพกเลื่อน และ knock knees เกิดจากน้ำหนักที่กดลงบน growth plate ของกระดูกที่ยังไม่ปิด การแก้ไขทำได้โดยการลดน้ำหนักและใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน

3. โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล

โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน เด็กหรือวัยรุ่นที่อ้วนและมีผิวหนังหนาคล้ำบริเวณคอและรักแร้ที่เรียกว่า “อแคนโธซิสนิกริแคน” พบว่า มีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยเฉพาะถ้ามีญาติพี่น้องเป็นเบาหวานร่วมด้วย พบว่า เด็กอ้วนที่มีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวานมีโอกาสร้อยละ 14 หากพ่อและแม่เป็นเบาหวานโอกาสเสี่ยงจะสูงถึงร้อยละ 40

4. ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดของเด็กและวัยรุ่นอ้วน โดยมี LDL-C สูง กลไกเหมือนกับในผู้ใหญ่ที่อ้วน ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตับแข็งและโรคหัวใจ

5. ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เด็กอ้วนจะมีความดันโลหิตสูงกว่าเด็กที่ไม่อ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง เด็กอ้วนมีความดันโลหิตสูงจะมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ และปริมาณเลือดในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้มีการคั่งของเกลือโซเดียมในร่างกาย การที่ระดับของอินซูลินในเลือดสูงขึ้นและความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

6. ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ พบได้ในเด็กที่น้ำหนักเกินร้อยละ 150 ของเด็กวัยและเพศเดียวกันระยะแรกจะเหมือนการนอนรนต้องพลิกตัวไปมา ถ้ายังอ้วนต่อไปก็จะเกิดภาวะคล้ายอาการสำลัก สะดุ้งตื่นเป็นผลจากการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ขณะที่นอนหลับมีผลทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ง่วงนอนตอนกลางวันทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำ ถ้าเป็นมากทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางมีผลต่อการควบคุมการหายใจ เกิดภาวะที่เรียกว่า “พิควิคเกียน” ควรรีบให้การดูแลรักษาหากปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้

7. ระบบทางเดินอาหารและโรคตับ

ระบบทางเดินอาหารและโรคตับ พบปัญหาแทรกซ้อนในเด็กที่เป็นโรคอ้วน ได้แก่ GERD (Gastroesophageal reflux disease) รวมทั้งปัญหา esophagitis พบว่า มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น นิ่วในถุงน้ำดี พบว่า เด็กที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ร้อยละ 8 – 33 เนื่องจาก น้ำดีมีระดับ cholesterol สูงขึ้น โดยสัดส่วนของกรดน้ำดี และ phospholipids ไม่ได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งถุงน้ำดีการบีบตัวน้อย มักมีอาการอาเจียน ตัวเหลือง ปวดท้อง และกดเจ็บบริเวณช่องท้องด้านขวาบน นอกจากนี้ โรคถุงน้ำดีอักเสบในวัยรุ่นสัมพันธ์กับโรคอ้วน ปัญหามาจากภาวะดื้ออินซูลิน และการอักเสบเรื้อรัง

8. โรคผิวหนังที่พบได้บ่อย

โรคผิวหนังที่พบได้บ่อย คือ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กอ้วนที่เป็นโรคเบาหวานทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรง และลุกลามจนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *