ภาวะดื้ออินซูลิน

1. โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน

1.1 โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

โรคอ้วนจะร่วมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลาย ๆ โรค เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ โรคเบาหวาน เป็นต้น

  • 1.1.1 ความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงทั้งในผู้ชายและผู้หญิงจะสูงมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และสัมพันธ์อย่างมากกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยคนอ้วน 100 คน มีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 50 คน และในจำนวนผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงนี้มีถึงร้อยละ 70 เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่า มีความดันโลหิตสูงเป็นครั้งแรกขณะมาพบแพทย์ด้วยโรคอ้วน การที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีความดันโลหิตสูงหรือความความดันโลหิตสูงจะแปรผันโดยตรงกับดัชนีมวลกาย

1.2 โรคมะเร็งบางชนิดที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน ได้แก่

  • 1.2.1 โรคมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งมดลูก ปากมดลูก รังไข่ เต้านม และต่อมลูกหมาก เป็นต้น
  • 1.2.2 โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

1.3 โรคถุงน้ำดี นิ้วในถุงน้ำดี สูงกว่าคนไม่อ้วน 3 – 4 เท่า

2.ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน

  • 2.1 ภาวะดื้ออินซูลิน
  • 2.2ฮอร์โมนที่มีผลกระทบต่อหน้าที่สืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก แอนโดรเจนมาก มีผลก่อให้เกิดมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน
  • 2.3หน้าที่ต่อมหมวกไต คนอ้วนลงพุงมีการหลั่งคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น และไขมันบริเวณหน้าท้องมีตัวรับกลูโคคอร์ติคอยด์หนาแน่น กลไกนี้มีส่วนต่อการแสดงออกของภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดโรคเบาหวานแทรกซ้อน
  • 2.4ฮอร์โมนเล็ปตินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากเซลล์ไขมัน เมื่อมีเซลล์ไขมันเพิ่มมากขึ้นก็จะมีระดับฮอร์โมนเล็ปตินมากขึ้น ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติคทำงานมากขึ้นอันเป็นผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

3.ความผิดปกติของเมแทบอลิซึมที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน

  • 3.1ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ คนอ้วนมักมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง HDL-C ในเลือดต่ำ และอะโปโปรตีนในไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำในเลือดสูง ความผิดปกติของระดับไขมันมักพบในคนอ้วนที่มีการสะสมไขมันในช่องท้องมาก และสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจขาดเลือด
  • 3.2กลุ่มอาการเมแทบอลิซึมกับโรคอ้วน กลุ่มอาการนี้มีความผิดกติอย่างน้อย 2 อย่าง คือ
    • 3.2.1 ภาวะบกพร่องการใช้กลูโคส ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง กับ HDL-C ในเลือดต่ำ
    • 3.2.2 ภาวะดื้ออินซูลิน

4.ปัญหาสุขภาพอ่อนแอที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน

  • 4.1 โรคข้อเสื่อม จากการกระจายตัวของน้ำหนักเป็นร้อยละพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วงสูงกว่าร้อยละ 20 มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเข่าเสื่อม 7 – 10 เท่าของผู้ที่มีน้ำหนักตัวในช่วงต่ำสุดร้อยละ 20 นอกจากนี้ ยังพบว่าคนอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อมที่สะโพกและมือ
  • 4.2 โรคระบบหายใจหรือทางเดินหายใจ ผลของโรคอ้วนต่อการหายใจมีผลต่อกลศาสตร์ การหายใจ หน้าที่ของกล้ามเนื้อการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซจากปอด การหายใจผิดปกติขระหลับ ความต้านทานของทางเดินหายใจส่วนบนเพิ่มขึ้นจนถึงการหยุดหายใจขณะหลับ จากการอุดกั้นในโรคอ้วนที่มีความรุนแรงปานกลางหรือมากเป็นภาวะที่คุกคามชีวิต

5.ปัญหาทางสังคมและจิตใจที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน

โรคอ้วนเป็นภาวะทางกายที่ก่อให้เกิดภาวะทางสังคมและจิตใจ พบว่า

  • 5.1ความลำเอียงทางสังคมมีรายงานว่า คนอ้วนต้องต่อสู้กับความลำเอียงทางสังคม เช่น หญิงอ้วนอายุน้อยในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามีรายได้ต่ำกว่าหญิงปกติ หรือหญิงที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ
  • 5.2 แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีเจตคติเชิงลบกับคนอ้วน เช่น ในประเทศอังกฤษคนอ้วนที่มีระดับไขมันในเลือดสูง มักจะไม่ได้รับใบสั่งยาลดระดับไขมันในเลือดจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเพราะถือเป็นนโยบายของแพทย์
  • 5.3 ผลทางจิตใจที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนยังหาข้อสรุปไม่ได้
  • 5.4 ความไม่พอใจกับรูปร่าง

6. ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน ได้แก่

  • 6.1 โรคผิวหนัง เช่น เชื้อราบริเวณใต้ราวนม รักแร้ และขาหนีบ
  • 6.2 การไหลเวียนของเลือดจากขาสู่หัวใจไม่สะดวก เกิดเส้นเลือดขอด
  • 6.3 การดมยาสลบ การผ่าตัดช่องท้องและการคลอดบุตรมีปัญหา แผลผ่าตัดอาจจะหายช้ากว่าปกติ
  • 6.4 การขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระไม่ปกติ เช่น มีอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก ในเพศหญิงการกลั้นปัสสาวะไม่ดีเหมือนคนปกติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *