ความต้องการพลังงานและสารอาหารของหญิงตั้งครรภ์ อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ในระยะตั้งครรภ์ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง จึงต้องการพลังงานและสารอาหารมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการทำงานของต่อมน้ำนม การสร้างรกและสายสะดือ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยทารกได้อาหารมาจากมารดาทางโลหิต ซึ่งผ่านเข้าทางสายสะดือ เพื่อเอาไปสร้างร่างกายของทารกทุกส่วน ดังนั้น ถ้ามารดาไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณเพียงพอระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะทำให้หญิงตั้งครรภ์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อย ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ นอกจากนั้น ยังขาดแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ไอโอดีน เหล็ก และโฟเลต เป็นผลให้มารดาและทารกที่เกิดมามีสุขภาพไม่สมบูรณื เช่น น้ำหนักและส่วนสูงของทารกที่คลอดน้อยกว่าปกติ คลอดบุตรก่อนกำหนด คลอดผิดปกติ แท้งบุตรพิการแต่กำเนิด และสติปัญญาต่ำ เป็นต้น ข้อสำคัญถ้ามารดาได้รับอาหารที่มีคุณค่าไม่เพียงพอกับความต้องการของทารกในครรภ์แล้ว ทารกก็จดึงเอาสารอาหารจากมารดาโดยตรง ซึ่งเป็นเหตุให้มารดายิ่งขาดอาหารมากขึ้น สุขภาพของมารดาเสื่อมโทรม เป็นโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคฟันผุ โรคกระดูกอ่อน และภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

ความต้องการพลังงานและสารอาหารของหญิงตั้งครรภ์

ในระยะตั้งครรภ์สองเดือนแรก จะเริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ และมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอัตราสูงสุดในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานและสารอหารสำหรับสร้างระบบไหลเวียน ระบบประสาทกล้ามเนื้อ กระดูกและอวัยวะต่าง ๆ ของทารก และสำหรับร่างกายของมารดาเองด้วย ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องกินอาหารที่มีพลังงานและสารอหารสูงกว่าคนปกติ คือ

  • พลังงาน
  • โปรตีน
  • ไอโอดีน
  • เหล็ก
  • โฟเลต
  • แคลเซียม
  • วิตามินเอ
  • วิตามินซี
  • วิตามินบี 1
  • วิตามินบี 2
  • วิตามินบี 6
  • วิตามินบี 12

1.โฟเลต (Folic acid)

โพเลตเป็นสารอาหารซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินที่ละลายในน้ำ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับกรดนิวคลีอิกและกรดอะมิโน เมื่อร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และยังมีผลต่อการสร้างสมอง ระบบประสาท และไขสันหลังตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ทำให้ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิด ได้แก่ ภาวะหลอดประสาทของทารกในครรภ์เปิด (Neural tube defects: NTDS) และอาการปวดแหว่งเพดานโหว่ (Cleft palate) โฟเลตมีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กรดโฟลิก (folic acid)

แหล่งอาหารที่ดีของโฟเลต

โฟเลตพบปริมาณน้อยในอาหาร ส่วนใหญ่สังเคราะห์ขึ้นและเตรียมขึ้นในรูปยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โฟเลตที่อยู่ในอาหารธรรมชาติมีอยู่หลายอนุพันธุ์ กรดโฟลิกที่เกิดจากการสังเคราะห์ถูกดูดซึม และนำไปใช้ได้ดีกว่าโฟเลตที่เกิดตามธรรมชาติ โฟเลตในอาหารมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ไวต่อแสงและความร้อน ดังนั้น บางส่วนจึงถูกทำลายไปในสิ่งแวดล้อมและการปรุงอาหาร ผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งอาหารที่ดีของโฟเลต ได้แก่ ดอกกะหล่ำ ดอกและใบกุ้ยช่าย มะเขือเทศ ผักตระกูลกะหล่ำ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง แครอท ถั่วฝักยาว ผักใบเขียว องุ่น ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น

2.อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์

กินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ให้หลากหลายรวมทั้งไข่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้ เป็นต้น เพื่อให้ได้โปรตีน กรดไขมันจำเป็น แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งการเจริญเติบโตของเซลล์สมองของทารกในครรภ์

  • กินปลา
    • กินปลาโดยเฉพาะปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยให้ได้รับ DHA (Docosahexoenoic acid) เป็นกรดไขมันจำเป็น ในกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้และจอประสาทตา ซึ่งเกี่ยวกับการมองเห็นของทารกในครรภ์
  • กินอาหารที่เป็นแหล่งแร่ธาตุเหล็ก
    • กินอาหารที่เป็นแหล่งแร่ธาตุเหล็ก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง เช่น ตับ เลือด เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง
  • กินอาหารที่มีวิตามินซีสูง
    • กินอาหารที่มีวิตามินซีสูงร่วมด้วย เช่น มะขามป้อม ฝรั่ง มะละกอสุก มะปรางสุก และส้ม เป็นต้น เพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • กินไข่
    • กินไข่ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 7 วัน เพื่อให้ได้โปรตีนที่มีคุณภาพดี และไข่ยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินเอ และเลซิติน เป็นต้น ทั้งนี้ ไข่แดงมีคอเลสเตอรอลสูง (ไข่ 1 ฟอง มีคอเลสเตอรอล 200 มิลลิกรัม) และปริมาณที่แนะนำ คือ คุณแม่ควรได้รับคอเลสเตอรอล ไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้น คุณแม่จึงควรบริโภคไข่ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง

3.กินอาหารกลุ่มผักและผลไม้

กินอาหารกลุ่มผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน และกินให้หลากหลายสี เช่น สีเหลือง – ส้ม สีแดง สีเขียวเข้ม สีม่วง สีขาว เป็นต้น เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนเพียงพอ

4.กินอาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียมเป็นประจำทุกวัน

กินอาหารกลุ่มที่เป็นแหล่งแคลเซียมเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะนมที่เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด เนื่องจาก มีปริมาณแคลเซียมสูงและดูดซึมได้ดี หากดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืด แน่นท้องมีแก๊สในกระเพาะ หรือบางคนรุนแรงถึงขั้นท้องเสียนั้นสามารถแก้ไขได้โดย

  • ดื่มน้ำทีละน้อย แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณนมให้ได้ตามที่แนะนำ
  • ไม่ดื่มนมในขณะท้องว่าง ควรหาอาหารว่างบริโภคก่อนแล้วค่อยดื่มนม
  • หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ยังคงมีอาการ ให้เปลี่ยนเป็นผลิตภํณฑ์นมที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว เช่น โยเกิร์ต ซึ่งควรเป็นโยเกิร์ตชนิดธรรมดา (Plain yoghurt) ซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าโยเกิร์ตที่ปรุงรสด้วยผลไม้
  • นอกจาก นมและโยเกิร์ต ยังมีแหล่งแคลเซียมจากอาหารอื่น ๆ เช่น เนยแข็ง ปลาเล็กปลาน้อย ปูกะตอยทอด กุ้งฝอย เต้าหู้ เป็นต้น สัตว์ตัวเล็กที่กินทั้งตัวและกระดูก ได้แก่ กบ เขียด อึ่ง แย้ กิ้งก่า เป็นต้น

5. ปรุงอาหารด้วยเกลือหรือเครื่องปรุงรสเค็มเสริมไอโอดีนทุกครั้ง โดยปรุงด้วยเกลือ ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกินวันละ 5 ช้อนชา เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน และได้รับโซเดียมไม่เกินปริมาณที่กำหนด

6. ให้กินยาเม็ดรวมเสริมไอโอดีน (150 ไมโครกรัม) ธาตุเหล็ก (60 กรัม) กรดโฟลิก (400 มิลลิกรัม) ทุกวัน ๆ ละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันการขาดไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต

7.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

8. ให้ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินและบริหารร่างกาย เพื่อลดอาการแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบการย่อยอาหารดีขึ้น

การจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูงให้แก่หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักน้อย

การจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง เช่น นม ไข่ ถั่วลิสง เป็นต้น ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อยกินทุกวันจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะโภชนาการปกติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *