ขั้นตอนและระบบการจัดส่งแรงงานไทย การไปทำงานของแรงงานไทย ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

ระบบการรับแรงงานต่างชาติ (การไปทำงาน) ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) มี 2 ระบบ คือ ระบบฝึกงาน (ทางการเกาหลียกเลิกระบบฝีกงานฯ ในวันที่ 1 มกราคม 2550) และระบบใบอนุญาต ซึ่งมีรายละเอียดระบบการจัดแรงงานไทยทำไปงานของรัฐบาลเกาหลี (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2551)[1] ซึ่งระบบใบอนุญาต (Work Permit System) กระทรวงแรงงานเกาหลีใต้ คัดเลือกให้ 6 ประเทศ (Employment Permit System: EPS) ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และมองโกเลีย ในปี 2547

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมแรงงงานต่างด้าวของเกาหลีใต้

เนื่องจาก สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) มีระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System for Foreign Workers: EPS) ในรูปแบบการจัดส่งในระบบ EPS ดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1. รับสมัครไปทำงานและรับสมัครสอบความสามารถภาษาเกาหลี

การรับสมัครไปทำงาน แยกพิจารณาได้ดังนี้

  1. ตำแหน่งและประสานงาน ประกอบด้วยงานใน 6 สาขากิจการ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต งานเกษตรเพาะปลูก งานเกษตรเลี้ยงสัตว์ งานก่อสร้าง งานประมง และงานบริการในงาน 6 ประเภท ได้แก่ งานภัตตาคาร งานทำความสะอาด ตึก งานบริการสังคม และงานทำความสะอาด
  2. คุณสมบัติผู้เดินทางไปทำงานเกาหลีใต้
    1. เพศชายและเพศหญิง
    2. อายุ 18 – 39 ปีบริบูรณ์
    3. จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
    4. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคต้องห้ามที่ทางการเกาหลีใต้กำหนด
    5. ไม่มีประวัติการถูกลงโทษ ถึงขั้นจำคุกและไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
    6. เป็นบุคคลซึ่งไม่ถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
  3. ผู้ที่ไม่มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกไปทำงานที่เกาหลีใต้
    1. ผู้ที่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายเข้าเมืองของเกาหลีใต้
    2. ผู้ที่ถูกทางการเกาหลีใต้ส่งกลับประเทศ
    3. ผู้ที่อยู่ในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมายเกินกว่า 3 เดือน
    4. ผู้ที่พยายามเดินทางเข้าเกาหลีเพื่อไปทำงานโดยผิดกฎหมาย
    5. ผู้ที่ห้ามเดินทางเข้าประเทศเกาหลี
    6. ผู้ที่เข้าไปทำงานเกาหลีในระบบ EPS แล้ว แต่ทำงานไม่ครบ 2 ปี
    7. ผู้ที่เคยสมัครไปทำงานเกาหลีใต้ในระบบ EPS และได้รับการคัดเลือกจากนายจ้างแต่ปฏิเสธการทำสัญญาการจ้างงาน 2 ครั้ง หรือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากนายจ้างแล้ว แต่สละสิทธิ์การเดินทางไปทำงานจะไม่มีสิทธิสมัครเพื่อเดินทางไปทำงานตามระบบ EPS เป็นระยะเวลา 1 ปี
    8. ผู้ที่เคยสมัครไปทำงานเกาหลีในระบบ EPS และได้รับการคัดเลือกจากนายจ้างพร้อมทั้งได้รับหนังสือรับรองการอนุมัติวีซ่า (CCVI) แล้ว แต่ปฏิเสธไม่เดินทางทำงานไม่ว่า ด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม (จะมีระยะเวลานับแต่วันปฏิเสธการเดินทางถึงวันสมัครไม่น้อยกว่า 1 ปี)
    9. ผู้ที่เคยเดินทางไปทำงานเกาหลีในระบบการฝึกงานแต่เดินทางกลับมาประเทศไทยแล้วยังไม่ถึง 6 เดือน
  4. หลักฐานและเอกสารที่ต้องยื่นในการสมัครไปทำงานที่เกาหลีใต้
    1. สำเนาหนังสือเดินทาง
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. สำเนาวุฒิการศึกษา
    5. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี)
    6. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
    7. สำเนาใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
    8. ใบรับรองการตรวจสุขภาพว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามของเกาหลี
    9. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 6 รูป

2.ความสามารถการสอบภาษาเกาหลี (EPS – KLT) ของแรงงานไทยที่จะไปทำงานที่เกาหลีใต้

บันทึกความเข้าใจการจัดส่งแรงงานไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีกำหนดให้คนงานที่จะเดินทางไปทำงาน ต้องสอบผ่าน (EPS – KLT) โดยกระทรวงแรงงานสาธารณรัฐเกาหลี มอบหมายให้หน่วยงานของทางการสาธารณรัฐเกาหลีเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการสอบในประเทศไทย ซึ่งผู้สมัครต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการสอบ โดยที่ผ่านมาเรียกเก็บคนละ 30 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้

  1. ข้อสอบความสามารถภาษาเกาหลี ประกอบด้วย 2 ส่วน คะแนนเต็ม 200 คะแนน จำนวนทั้งหมด 50 ข้อ ซึ่งอายุประกาศนียบัตรการสอบผ่านความสามารถภาษาเกาหลี (EPS – KLT) มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี มีรายละเอียดดังนี้
    1. การฟังภาษาเกาหลี จำนวนข้อสอบ 25 ข้อ คะแนน 100 คะแนน
    2. การอ่านภาษาเกาหลี จำนวนข้อสอบ 25 ข้อ คะแนน 100 คะแนน
  2. การจัดทำบัญชีรายชื่อคนหางาน กรมการจัดหางานได้บันทึกข้อมูลคนงานที่สอบผ่านความสามารถ (EPS – KLT) ไว้ในโปรแกรม SPAS และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึก และจึงจัดส่งบัญชีรายชื่อให้ทางสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งผู้สอบผ่าน EPS – KLT ก็จะได้รับการจัดส่งข้อมูลให้ทางการเกาหลี แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะได้ทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อจะมีกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างเกาหลีคัดเลือก 1 ปี ซึ่งข้อมูลคนหางานที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเมื่อครบกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ไม่มีนายจ้างคัดเลือกก็จะถูกลบชื่อจากบัญชีรายชื่อ
  3. การคัดเลือกและทำสัญญาจ้าง
    1. นายจ้างขออนุญาตจ้างแรงงานต่างชาติ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงขอคัดเลือกค้นหางานศูนย์การจ้างงานเกาหลี (ESC) จะเสนอรายชื่อให้นายจ้างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการจำนวนไม่เกิน 5 เท่าของโควตาที่ได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติ ข้อมูลคนหางานที่ศูนย์การจ้างงานเกาหลี (ESC) ให้นายจ้างประกอบการคัดเลือกประกอบด้วย ภาพ สัญชาติ ข้อมูลกายภาพ (เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก) ทั้งนี้ นายจ้างจะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อ นามสกุล ของคนหางาน
    2. ทางการสาธารณรัฐเกาหลี แจ้งผลการคัดเลือกคนหางานของนายจ้างต่อกรมการจัดหางานผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ (ESC)
    3. กรมการจัดหางานประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก และติดต่อคนหางานทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย EMS เพื่อแจ้งให้คนหางานมารายงานตัวรับทราบสัญญาการจ้างงาน
    4. กรมการจัดหางานรับรายงานตัวการจ้างงาน ณ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
    5. รายงานผลการตอบรับการจ้างงานของคนหางานกลับไปยังทางการของเกาหลี
  4. การอบรมก่อนการเดินทาง คนหางานต้องเข้ารับการฝึกอบรมที่สถานที่ฝีกอบรมที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสถานฝึกอบรมก่อนเดินทางไปทำงานระบบ EPS จากกรมจัดหางาน โดยต้องเข้ารับการอบรมครบตามหลักสูตร และนำวุฒิบัตรการผ่านการฝึกอบรมติดตัวไปยังเกาหลี หากพบว่า คนหางานไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม หรือได้รับการฝึกอบรมจากสถานฝึกอบรมที่ไม่ได้รับอนุญาต จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานสาธารณรัฐเกาหลี สามารถเนรเทศ หรือดำเนินการเท่าที่จำเป็นต่อคนงานรวยนั้น ๆ
  5. การยื่นขอวีซ่า ภายหลังคนหางานได้ตอบรับการทำสัญญาการจ้างงานแล้ว สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาธารณรัฐเกาหลี (HRD) จะยื่นขอเอกสารรับรองการอนุมัติวีซ่า (CCVI) จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรมสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะดำเนินการตรวจสอบประวัติ และการกระทำความผิดของนายจ้างและคนหางานแล้วจึงออก CCVI ให้ ซึ่งหากไม่พบประวัติหรือการกระทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าหากพบประวัติการกระทำความผิดกฎหมายก็จะปฏิเสธการเดินทางไปทำงานระบบ EPS และหลังจากได้รับ CCVI แล้วก็จะถูกข้อมูลออกจากบัญชีรายชื่อ และไม่มีสิทธิที่จะสมัครเข้าไปทำงานระบบ EPS เป็นเวลา 1 ปี
  6. การเดินทาง กรมการจัดหางานประสบการณ์สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาธารณรัฐเกาหลี (HRD) และบริษัทตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน กำหนดวันเดินทางของคนหางาน โดยเรียงลำดับตามการได้รับ CCVI และวีซ่า HRD แจ้งยืนยันการเดินทางของคนหางานโดยแจ้งรายชื่อคนหางานที่เดินทางพร้อมศูนย์ฝึกอบรมที่คนหางานแต่ละคนเข้ารับการอบรมก่อนเข้าทำงาน ส่วนของการเดินทางเข้าเมือง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานอพยพของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมสูงประเทศหนึ่งในเอเชีย ดังนั้น การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการผลิตอื่น ๆ จึงส่งผลให้มีความต้องการแรงงานมาก ได้กลายเป็นแรงจูงใจให้มีการดึงดูดแรงงานเข้าสู่ประเทศมาก ประเทศเกาหลีใต้ได้จึงมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมแรงงานต่างด้าว โดยใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยในปี ค.ศ. 1963 ได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคนเข้าเมือง (Immigration Control Act 1963) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1963 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง 12 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2002 กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคนเข้าเมือง เป็นกฎหมายหลักในการกำกับดูแลและควบคุมการเข้าเมืองคนต่างด้าว ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญ ดังนี้ (Ministry of Legislation, Immigration Control Act.)
    1. กำหนดนิยาม “คนเข้าเมือง” เอาไว้ว่า บุคคลที่เดินทางเข้ามาในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมิได้มีสัญชาติเกาหลีใต้
    2. กำหนดให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศเกาหลีใต้ จะต้องมีหนังสือเดินทางออกมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้รับการตรวจลงตราโดยกระทรวงยุติธรรมของประเทศเกาหลีใต้
    3. กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีคำสั่งห้ามคนต่างด้าวเข้าประเทศ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (Immigration Control Act 1963, Article 11)
      1. เป็นโรคระบาด ติดยาเสพติด หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
      2. พกพาหรือนำพาอาวุธปืน วัตถุระเบิด ตามที่กำหนดในกฎหมายวาวุธปืนวัตถุระเบิด
      3. กระทำการใด ๆ อันนำมาซึ่งภยันตรายต่อประโยชน์ของชาติ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
      4. ป่วยทางจิตหรือไร้ที่พำนัก
      5. เป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในประเทศเกาหลีใต้
      6. เป็นบุคคลซึ่งมีส่วนร่วมในการกระทำผิดฐานฆ่าคนตาย หรือกระทำการทรมานต่อประชาชน อันมีเหตุผลมาจากเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น
    4. คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศเกาหลีใต้ จะต้องได้รับการตรวจตรา (Inspection) โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมการเข้าเมือง ณ ช่องทางขาเข้าและขาออก
    5. การเข้าเมืองเป็นการชั่วคราว (Sojourn of Foreigners) ของคนต่างด้าว ต้องอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Immigration Control Act 1963, Article 17) โดยห้ามเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ หากคนต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อาจมีคำสั่งยุติการกระทำนั้น ๆ ได้ หรืออาจใช้มาตรการอื่นที่จำเป็นได้
    6. คนต่างด้าวที่เข้าเมืองเป็นการชั่วคราว ไม่สามารถประกอบอาชีพในประเทศเกาหลีใต้ได้
    7. คนต่างด้าวที่เข้าเมืองเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้เข้าเมืองจะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าว ณ สำนักงานควบคุมคนเข้าเมือง ยกเว้นบุคคลดังต่อไปนี้
      1. บุคลากรและครอบครัวในคณะทูตร และองค์การระหว่างประเทศในประเทศเกาหลีใต้
      2. คนต่างด้าวและครอบครัวซึ่งมีสิทธิพิเศษ และความคุ้มกันเช่นเดียวกับทูตรหรือกงสุลภายใต้ความตกลงที่ทำกับประเทศเกาหลีใต้
      3. คนต่างด้าวที่ได้รับการเชื้อเชิญจากประเทศเกาหลีใต้ที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงของกระทรวงยุตะรรม
    8. การลงทะเบียนคนต่างด้าว ประกอบด้วย
      1. ชื่อ เพศ วันเกิด สัญชาติ
      2. ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
      3. สถานที่ทำงาน และตำแหน่งที่รับผิดชอบ
      4. ภูมิลำเนาในประเทศของตน และที่พำนักในประเทศเกาหลีใต้
      5. สถานะและระยะเวลาที่พำนักในประเทศเกาหลีใต้
      6. เรื่องอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    9. การเนรเทศ (Deportation) คนต่างด้าวอาจถูกเนรเทศออกจากประเทศเกาหลีใต้ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
      1. กระทำละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7
      2. ละเมิดเงื่อนไขที่กำหนดโดยหัวหน้าสำนักงานควบคุมการเข้าเมือง
      3. เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 14(1), 15(1), 16(1), หรือ 16-2(1)
      4. ละเมิดข้อจำกัดของเขตพักอาศัย ข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรม หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด
      5. พยายามที่จะออกจากประเทศเกาหลีใต้โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 68
      6. ได้รับการปลดปล่อยภายหลังจากการรับการลงโทษ ซึ่งหนักกว่าโทษจำคุก
    10. การบริหารการจัดการและปฏิบัติตามกฎหมายการทำงานคนต่างด้าว ในการพิจารณาเกี่ยวกับการบริหารการจัดการ และการปฏิบัติตามกฎหมายการทำงานคนต่างด้าว

[1] กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2551

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *