กิน หวาน เค็ม อร่อยปาก ลำบากกาย หว๊าน หวาน มากไป มีผลอย่างไรกับสุขภาพ

ตามปกติแล้วความเค็มในอาหารส่วนใหญ่มาจากเกลือ ที่เป็นส่วนประกอบหลักในอาหาร ถ้าร่างกายได้รับเกลือในปริมาณมากเกิน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งในระยะแรกนั้นจะไม่แสดงอาการ แต่จะค่อย ๆ ทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ และจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อสมอง ตับ หัวใจ และไต ถ้าอาการรุนแรงอาจจะทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้

ส่วนประกอบของเกลือที่ใช้ปรุงอาหาร คือ “โซเดียม” ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายของเซลล์ในร่างกายข้อมูลตามข้อกำหนดสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปค่าสูงสุดที่กำหนดในวัยผู้ใหญ่ คือ 1,600 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณโซเดียมในอาหาร

ชนิดอาหารปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
ข้าว1 ทัพพี20
ขนมปัง1 แผ่น130
นม240 ซีซี120
ผักกาด1 ทัพพี2
ผักกาดดอง100 กรัม1044
เนื้อหมูสุก2 ช้อนกินข้าว30
ไส้กรอกหมู2 ชิ้น (30 กรัม)200
หมูยอ2 ช้อนกินข้าว230
ไข่ต้ม1 ฟอง90
ไข่เค็ม1 ฟอง480
เต้าหู้ยี้2 ก้อน (15 กรัม)660
เกลือ1 ช้อนชา2000
น้ำปลา1 ช้อนชา500
ซีอิ้ว1 ช้อนกินข้าว1190
ซอสถั่วเหลือง1 ช้อนกินข้าว1187
ซอสหอยนางรม1 ช้อนกินข้าว518
น้ำจิ้มไก่1 ช้อนกินข้าว385
ซอสพริก1 ช้อนกินข้าว231
ซอสมะเขือเทศ1 ช้อนกินข้าว149
ผงปรุงรส1 ช้อนชา815
ซุปก้อน10 กรัม1760

วิธีง่าย ๆ ในการเริ่มลดการกินเค็ม

  1. เริ่มจากเก็บขวดเกลือที่เคยวางอยู่บนโต๊ะอาหารไปไว้ที่อื่น
  2. ปรุงอาหารโดยเริ่มลดการเติมน้ำปลา เกลือ หรือซอสปรุงรสที่ให้รสเค็ม คงเหลือเพียงครึ่งเดียวจากที่เคยเติมตามความเคยชิน แต่เมื่อคุ้นกับรสชาติใหม่แล้วก็จะเริ่มลดความเข้มลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งใช้เครื่องปรุงอาหารให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องปรุงเลย
  3. ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเฉพาะซุปกระป๋อง อาหารหมักดอง ของเค็มทั้งหลาย
  4. เลิกนิสัยกินจุบจิบระหว่างวัน โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบที่ส่วนใหญ่มีส่วนผสมของเกลือ นอกจากจะลดเกลือได้แล้ว ยังเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย
  5. เวลาสั่งอาหารนอกบ้าน ให้ย้ำเสมอจนเป็นนิสัยว่า “ไม่เค็ม”
  6. ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงร้านอาหารประเภทจานด่วน เพราะอาหารเกือบทุกอย่างมีปริมาณโซเดียมสูง
  7. อาหารที่ขาดรสเค็มไม่ชวนกิน แก้ไขโดยการให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดหรือใส่เครื่องเทศต่าง ๆ
  8. ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุง น้ำจิ้ม เช่น สุกี้ หมูกระทะ รวมทั้งลดปริมาณของน้ำจิ้มด้วย

หว๊าน หวาน มากไป มีผลอย่างไรกับสุขภาพ

อาหารจำพวกน้ำตาลเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ใช้ในร่างกายและถ้ามากเกินไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ดังนั้น การบริโภคน้ำตาลมาก ๆ ส่งผลให้มีน้ำหนักเกินอ้วนและทำให้เกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพตามมา

วิธีการง่าย ๆ ในการเริ่มลดการกินหวาน

  1. พยายามไม่เติมน้ำตาล หรือลดหวานในอาหาร
  2. หลีกเลี่ยงการกินขนมหวาน หันมาบริโภคผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น มะละกอ ส้มโอ สับปะรด
  3. หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม

ความหวานพบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด ทั้งในอาหารหวาน คาว และผลไม้ เช่น ขนมไทย แกงกะทิ เบเกอรี่  เงาะ ขนุน ทุเรียน เป็นต้น ซึ่งจะแฝงตัวอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ ดังนั้น การจะเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณมากน้อยของน้ำตาลนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้น ๆ สำหรับการที่จะควบคุมและดูแลร่างกาย

หวาน มัน เค็ม เท่าไหร่ถึงพอดี

ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วันน้ำมันน้ำตาลเกลือ
เด็กไม่เกิน 65 กรัม หรือ 6 ช้อนชาไม่เกิน 4 ช้อนชาไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา
ผู้ใหญ่ไม่เกิน 65 กรัม หรือ 6 ช้อนชาไม่เกิน 6 ช้อนชาไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *