การออกกำลังกายต้านภาวะอ้วนลงพุง

ในการออกกำลังกายเพื่อต้านภาวะอ้วนลงพุงมีรูปแบบการออกกำลังกายในกลุ่มดังกล่าวหลากหลายรูปแบบ แต่แนวทางที่มีความเหมาะสมและปฏิบัติได้มีดังต่อไปนี้

การออกกำลังกายเพื่อลดปริมาณไขมันในร่างกายและเสริมสร้างระบบไหลเวียนเลือด

รูปแบบการออกกำลังกายชนิดนี้จะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 30 นาทีขึ้นไปและอย่างน้อย 4 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หายหรือถีบเรือ การวิ่ง (สำหรับคนที่มีระดับน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ) รำไทเก๊ก ชิกง และการเต้นแอโรบิค ซึ่งการออกกำลังกายรูปแบบนี้เป็นการออกกำลังกายที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise)

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อด้วยแรงต้าน

การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายแต่ละกิจกรรมที่มีความเหมาะสมต่อการที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อแต่ละมัดหรือแต่ละกลุ่มได้มีการเคลื่อนไหวออกแรงทำงานเฉพาะกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบเสียหายในการประสานงานร่วมกันกับกลุ่มกล้ามเนื้อข้างเคียง โดยวิธีที่นิยมมากที่สุด คือ การฝึกด้วยแรงต้าน (Resistance) ซึ่งอาจมีอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมดังนี้

  • ร่างกาย (น้ำหนักตัวเอง)
  • ยางยืด
  • อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักต่าง ๆ

ขั้นตอนการออกกำลังกาย

  • ทำแบบสอบถามว่าตนเองเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการออกกำลังกายหรือไม่ (แบบสอบถาม par q)
  • ทราบถึงข้อควรระวังในการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับโรคหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของตน
  • เลือกประเภทการออกกำลังกายในเหมาะสมกับร่างกาย และโรคประจำตัว
  • ออกกำลังกาย 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายโดยการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับเบา ก่อนการเริ่มออกกำลังกาย 5 – 10 นาที และคลายอุ่นโดยวิธีการเคลื่อนไหวที่ช้าลงจนสู่ภาวะปกติ ก่อนการยืดกล้ามเนื้อและจบการออกกำลังกาย

**ในส่วนของคนที่มีภาวะอ้วนลงพุงควรออกกำลังกายอยู่ในโซน 2 คือ อยู่ระดับที่ความหนัก 60 – 70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกาย

  • ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพร่างกายที่ดีขึ้น
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
  • ช่วยเพิ่มช่วงข้อต่อในการเคลื่อนไหว
  • ช่วยเพิ่มการทรงตัวให้ดีขึ้น
  • เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
  • ลดระดับไขมันในเลือดและเพิ่มระดับไขมันดี (HDL)
  • เพิ่มมวลกระดูกและลดปัญหากระดูกพรุน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *