การดูแลตนเองหลังคลอด อาหาร
  1. อาหารคุณแม่หลังคลอด
    • ปริมาณ ควรมากกว่าระยะตั้งครรภ์
    • รับประทานอาหารมีประโยชน์ และธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ตับ ผักใบเขียว
    • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
    • ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
    • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว
    • รับประทานผักและผลไม้ทุกวัน เพื่อป้องกันท้องผูก
    • อาหารเพื่อพัฒนาสมองลูก เช่น นมถั่วเหลือง อาหารทะเล ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง เป็นต้น
  2. การพักผ่อนและการออกกำลังกายหลังคลอด
    • พักผ่อนโดยการนอน กลางคืน 8 – 10 ชั่วโมง กลางวัน 1 – 2 ชั่วโมง
    • ไม่ยกของหนัก หรือกิจกรรมที่ออกแรงเบ่ง เพราะจะทำให้มดลูกหย่อน มดลูกจะเข้าอู่เรียบร้อยใช้เวลา 1 เดือน
    • ออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 15 – 20 นาที ควรเริ่มเมื่อพักผ่อนเพียงพอแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
    • เริ่มด้วยท่าง่าย ๆ ป้องกันการปวดแผล เมื่อแข็งแรงขึ้นให้บริหารมากขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และอุ้งเชิงกรานกลับสู่สภาพปกติเร็ว ทรวดทรงสวยงามน้ำนมไหลดี
    • หลังคลอด 6 สัปดาห์ จึงจะทำงานได้ตามปกติ
  3. การดูแลความสะอาดร่างกายหลังคลอด
    • อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ไม่นอนแช่ในอ่าง หรือลงแช่น้ำในคลอง แม่น้ำ ลำธาร เพราะอาจทำให้มดลูกติดเชื้อได้
    • ควรสระผมด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    • ควรล้างอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่ปัสสาวะ หรืออุจจาระ แล้วซับให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง
    • เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มหรือทุก 3 – 4 ชั่วโมง
    • ควรตัดเล็บให้สั้น สวมเสื้อผ้าที่สะอาด
  4. การดูแลเต้านมหลังคลอด
    • ควรใส่ยกทรงเพื่อพยุงเต้านม
    • ไม่ควรใช้สบู่ล้าง ไม่ทาครีมหรือน้ำนม
    • ถ้าใส่แผ่นซับน้ำนม ควรเปลี่ยนบ่อย ๆ
    • หากเจ็บหัวนม ให้ใช้น้ำนมแม่ทาหลังจากให้นมเสร็จ
    • หากหัวนมเป็นแผลหรือมีเลือดซึมให้ปรึกษาแพทย์
  5. การมีเพศสัมพันธ์และการวางแผนนครอบครัวหลังคลอด
    • งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด
    • เพื่อให้แม่มีเวลาเลี้ยงลูกและให้ร่างกายของแม่ได้พักผ่อนเต็มที่ ควรเว้นระยะการมีลูกประมาณ 2 ปี
    • การมีประจำเดือนหลังคลอด มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ประจำเดือนครั้งแรกจะมีหลังคลอดประมาณ 7 – 9 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง อาจไม่มีประจำเดือนตลอดระยะที่ให้นมบุตร
    • วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่เหมาะสมในหญิงให้นมลูก
      • ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวต้องกินติดต่อกันทุกวัน
      • ยาฉีดคุมกำเนิด 1 เข็มป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 3 เดือน
      • ยาฝังคุมกำเนิด 1 ครั้งป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 3 – 5 ปี
      • ห่วงอนามัย ใส่ห่วง 1 ครั้ง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 5 ปี
      • ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
  6. อาการผิดปกติคุณแม่หลังคลอดที่ต้องมาพบแพทย์
    • ตกเลือดหลังคลอด เลือดเป็นก้อน ลิ่มเลือด
    • ตัวร้อนเป็นไข้ติดต่อกัน 2 วัน
    • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ขุ่นข้น หรือมีสีแดงนานเกิน 2 สัปดาห์
    • ปัสสาวะแสบขัด กะปริบกะปรอย หรือปัสสาวะไม่ออก
    • ปวด บวม บริเวณฝีเย็บ หรือแผลแยก
    • หัวนมแตก หรืออักเสบ
  7. การรับประทานยาหลังคลอด
    • ไม่ซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไม่สบาย
    • ไม่รับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาฝน ยาดองเหล้า หรือยาสมุนไพรที่แพทย์ไม่ได้สั่ง
    • หากมีโรคประจำตัว และต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนกลับบ้าน
    • ควรรับประทานยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  8. การมาตรวจตามนัดหลังคลอด
    • มาตรวจหลังคลอดตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
    • หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที
  9. ข้อควรระวังหลังคลอด
    • ไม่ควรอยู่ไฟ
    • ไม่ควรวางกระเป๋าน้ำร้อน ที่มดลูก อาจทำให้ตกเลือดหรือมดลูกอักเสบ
    • ไม่ควรสูบบุหรี่
    • ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อาจทำให้มารดาและทารกถ่ายเหลวได้
  10. น้ำคาวปลาที่ปกติ มีลักษณะดังนี้
    • น้ำคาวปลาควรจะหมดภายใน 3 สัปดาห์
      • วันที่ 1 – 3 มีสีแดง
      • วันที่ 4 – 9 มีสีแดงจางหรือคล้ำลง มีมูกปนจึงทำให้มีลักษณะเป็นเมือกยืดได้
      • วันที่ 10 – 21 ลักษณะเป็นมูกสีเหลืองปริมาณเล็กน้อย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. ข้อควรปฏิบัติระหว่างให้นมลูก
    • ควรดื่มน้ำ ก่อนและหลังให้นมลูก 1 แก้ว
    • ดื่มนมอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว
    • ให้ลูกดูดนมให้หมดทีละเต้า
    • ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด น้ำนมจะไหลดี
    • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาเสพติดอื่น ๆ
  2. ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    • ประหยัด ไม่เสียเวลา เพราะนมแม่มีพร้อมอยู่เสมอ
    • สะอาดและปลอดภัย
    • มดลูกเข้าอู่เร็ว ป้องกันตกเลือด
    • น้ำหนักลดเร็ว เพราะแม่ได้ใช้ไขมันมาผลิตน้ำนมให้ลูก
    • โอกาสเป็นมะเร็งในเต้านม ปากมดลูก และมะเร็งในเต้านม ปากมดลูก และมะเร็งมดลูกน้อยกว่า
    • ทำให้แม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูกขึ้น
    • ทำให้ท้องว่างจากการตั้งท้อง เป็นการช่วยวางแผนครอบครัวด้วย
  3. สมุนไพรที่เชื่อว่าบำรุงน้ำนม
    • สมุนไพรบำรุงน้ำนม ได้แก่ ผักโขมแดง หัวปลี กุยช่าย กล้วยน้ำว้า มะละกอทั้งสุก และดิบ บวบ ฟักทอง กะเพรา ผักกาดหอม ผักชีลาว ใบมะรุมอ่อน ขนุนต้มสุก กานพลู ใบมะลิสดนำมาต้มดื่ม เป็นต้น
  4. เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
    • ควรบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก น้ำนมแม่แช่แข็งเก็บไว้ได้นาน 1 เดือน
    • ให้ลูกดูดนมแม่ช่วงเช้า ก่อนไปทำงาน หรือก่อนส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็ก
    • ระหว่างทำงานให้บีบน้ำนมออกเป็นระยะ ๆ ตามเวลาที่ลูกเคยดูด แล้วเก็บไว้ช่องแช่แข็ง
    • เมื่อจะนำน้ำนมจากช่องแช่แข็งมาให้ลูกกิน
      • นำน้ำนมแม่ที่แช่แข็ง มาวางไว้ในช่องแช่เย็นธรรมดาปล่อยให้ละลายเอง
      • นำน้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว มาแช่ในน้ำอุ่นให้หายเย็นแล้วกินได้เลย

นมแม่แช่แข็งที่นำมาละลายแล้ว ถ้ายังไม่ให้ลูกกินทันทีเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง และอย่านำกลับไปแช่แข็งใหม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *