ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

นิยามเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หมายถึง เครื่องมือด้านการตลาด ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่องค์กรนำมากำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด[i]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับคุณค่าตราสินค้าตามลำดับ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ เน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม จากนั้น จึงมาสร้างกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด เน้นไปที่แผนการตลาดโฆษณาและประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบ Total Communication อย่างครบวงจรเพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นผู้นำในกลุ่มตลาดกล้องมิลเลอร์เลส นอกจากนี้ การบริการหลังการขายก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ การรับประกันก็เป็นสิ่งที่จำเป็นกับการขายเพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการซื้อสินค้า [ii] พบว่า

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญภาพรวมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ คุณภาพของภาพถ่ายมีความสวยงาม สามารถพกพาง่าย คุณภาพของภาพถ่ายมีความคมชัด มีรุ่นให้เลือกหลากหลาย มีรูปทรงดีไซน์เป็นเอกลักษณ์และสามารถเลือกเปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการตามลำดับ
  2. ด้านการจัดจำหน่าย ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญภาพรวมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ หาซื้อง่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ตัวแทนจำหน่ายมีความน่าเชื่อถือ สามารถหาข้อมูลกล้องมิลเลอร์เลสแบรนด์นี้ผ่านทางเว็บไซต์ได้สะดวก และมีการออกบูธของกล้องมิลเลอร์เลสแบรนด์นี้ตามงานแสดงสินค้าบ่อยครั้ง ตามลำดับ
  3. ด้านราคา ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญภาพรวมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ มีการบ่งบอกราคาที่ชัดเจน มีราคาให้เลือกซื้อหลายระดับ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และราคาไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ตามลำดับ
  4. ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญภาพรวมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ มีการรับประกัน มีการโฆษณาสินค้าหลายช่องทาง มีพนักงานขายกล้องสามารถให้คำแนะนำได้อย่างชัดเจน มีการประชาสัมพันธ์สินค้าหลายช่องทาง และมีกิจกรรส่งเสริมการขายอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับ

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์ (2559) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋า และรองเท้าสุภาพสตรี พบว่า แรงจูงใจที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจซื้อมาจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ผลิตภัณฑ์ ราคา กระบวนการ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร สถานที่ และกายภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพและความคงทนของสินค้า คุณภาพและความคงทนของสินค้า และสินค้ามีความทันสมัย ความมีชื่อเสียงของตรายี่ห้อและใช้เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ ด้านราคา ได้แก่ ราคาและคุณภาพของสินค้ามีความเหมาะสม มีการชี้แจงราคาที่ชัดเจน ด้านสถานที่ ได้แก่ หน้าร้านหรือหน้าเว็ปไซต์มีความน่าเชื่อถือ ช่องทางการซื้อมีความสะดวกสบาย ทันสมัยและมีความหลากหลาย เช่น ทางอินเตอร์เน็ตด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ มีบริการหลังการขาย มีการจัดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนคืนสินค้าได้ มีโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ด้านบุคคล ได้แก่ มีความกระตือรือร้นในการบริการ การให้คำแนะนำ/คำปรึกษาเป็นอย่างดี มีความสุภาพและเป็นกันองกับลูกค้า ด้านกระบวนการให้บริการ ได้แก่ กระบวนการขายมีความน่าเชื่อถือ มีความพึงพอใจในกระบวนการขายในทุกขั้นตอน มีขั้นตอนการชำระค่าสินค้าที่น่าเชื่อถือ และขั้นตอนการชำระค่าสินค้าที่รวดเร็ว ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี มีหลากหลายสาขาให้เลือกไปใช้บริการตกแต่งร้านมีความทันสมัย[iii]

ศิวพร ดอกยี่สุ่น (2555) ศึกษาเรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้า (Brand) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกล่องความงาม (Beauty Box) พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาที่มีความสอดคล้องกับคุณภาพของสินค้าด้วย ซึ่งครอบคลุมถึงคุณค่าของตราสินค้านั้นเหมาะสมกับราคาหรือไม่อีกด้วย[iv]

ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าของผู้บริโภค พบว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix: 4Ps) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครในระดับมาก กล่าวคือ ในภาพรวม (M = 3.86, SD = 0.58) ด้านผลิตภัณฑ์ (M = 3.95, SD = 0.75) ด้านราคา (M = 4.03, SD = 0.47) ด้านการจัดจำหน่าย (M = 3.85, SD = 0.52) และด้านการส่งเสริมการตลาด (M = 3.73, SD = 0.85) คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าของผู้บริโภคในระดับมาก (M = 4.17, SD = 0.42) ส่วนคุณค่าตราสินค้าในองค์ประกอบย่อยรายด้านนั้นมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าตั้งแต่ระดับมากถึงมากที่สุด และส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าเกือบทุกองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า (Buying Behaviour) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นส่วนประสมทางการตลาดในด้านการจัดจำหน่าย (iv3) และคุณค่าตราสินค้าในด้านสินทรัพย์ของตราสินค้าในกรรมสิทธิ์อื่น (iv9) ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในการศึกษาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า[v]

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางซึ่งเป็นตราสินค้าไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทย ในระดับมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนในด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมากตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางไทย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในประเด็นย่อยด้านคุณภาพและการรับรองคุณภาพด้วยสถาบันที่มีชื่อเสียง[vi]


[i] จันทร์จิรา นันตีสู้. (2560). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อคุณค่าตราสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ii] จันทร์จิรา นันตีสู้. (2560). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อคุณค่าตราสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[iii] ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2559). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋าและรองเท้าสุภาพสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[iv] ศิวพร ดอกยี่สุ่น. (2555). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้า (Brand) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกล่องความงาม (Beauty Box). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[v] ชัจจ์ชัย บุญฤดี. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[vi] ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(25), 164 – 171.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *