คำสำคัญเกี่ยวกับเพศวิถีในสังคมไทย

คำต่าง ๆ ในวาทกรรมเพศวิถีมักมาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน เนื่องจาก คำดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนวิธีคิดเรื่องเพศในภาษาถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นวิธีคิดที่รุ่มรวยและมีประโยชน์ต่องานด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ในภูมิภาคได้ โครงการ “คำสำคัญต่าง ๆ ในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาษาจีน” (The Southeast Asian and Chinese Key Words Projects) ซึ่งนำโดย ดร.ไมเคิล แทน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ มีจุดมุ่งหมายที่จะกลับไปหาเรื่องพื้นฐาน และพิจารณาดูว่า ผู้คนพูดถึงเรื่องเพศและเพศวิถีอย่างไรบ้างตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ตามถนนหนทาง ในบ้าน และสถานที่ทางศาสนา โดยต้องการแสดงให้เห็นคำสำคัญที่เกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีในภาษาต่าง ๆ ใน 4 หมวด ได้แก่ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือตัวตนทางเพศ เรื่องเพศในมิติด้านกายวิภาค (sexual anatomy) กิจกรรมทางเพศ (sexual activities) และเพศวิถี (sexuality) สำหรับโครงการภาษาเพศในสังคมไทย เป็นโครงการศึกษาวิเคราะห์คำต่าง ๆ ตามประเด็นหลัก ๆ สี่เรื่อง ได้แก่ วัฒนธรรมทางเพศของคนคนหนึ่ง ความแตกต่างข้ามวัฒนธรรมในวัฒนธรรมทางเพศต่าง ๆ การประกอบสร้างทางสังคมในเรื่องวัฒนธรรมทางเพศและเพศวิถี และอำนาจของภาษาในการผลิตซ้ำหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางเพศ ตัวอย่างของกลุ่มคำสี่คู่ที่ถูกนำเสนอ ได้แก่

  1. “ได้เสียกัน” และ “เสียตัว” “ได้เสียกัน” “เสียหรือได้” ใช้เพื่อ หมายถึง เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ส่วน “เสียตัว” (หรือเสียคุณงามความดี) ใช้กับหญิงโสดที่ยังสาวอยู่เท่านั้น แนวคิดเรื่องการเป็นผู้สูญเสียทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องเข้าสู่งานบริการทางเพศ เนื่องจากสังคมมองผู้หญิงที่ “เสียตัว” เป็นบุคคลที่ไร้ศักดิ์ศรี และไร้ความดีงาม
  2. “หี” และ “หำ” ซึ่งหมายถึง อวัยวะเพศหญิงเป็นคำที่คนทั่วไปหลีกเลี่ยงและถือเป็น “คำด่า” อวัยวะเพศหญิงถูกมองว่า เป็นพื้นที่ซึ่งถูกซ่อนไว้และเป็นพื้นที่ลับ ดังนั้น ผู้หญิงไทยมักจะได้รับการสั่งใอนให้ปิดปิดอวัยวะเพศของตน ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกอับอาย แต่ยังส่งผลถึงความกลัวการตรวจภายใน ส่วน “หำ” หรือลูกอัณฑะมักจะใช้ในเพลงหรือใช้เป็นคำสรรพนามที่หมายถึง “เด็กชายตัวน้อย” หรือ “ผู้ชาย” ในภาษาอิสาน อีกคำที่มีความคล้ายคลึงกันคือ “ไข่นุ้ย” ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของภาคใต้ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยให้คุณค่าอวัยวะเพศชายมากกว่าอวัยวะเพศหญิง
  3. “แรด” และ “รักนวลสงวนตัว” “แรด” หมายถึง “ผู้หญิงไม่ดี” ในขณะที่ “รักนวลสงวนตัว” หมายถึง “ผู้หญิงดี” คำคู่นี้มักถูกนำไปใช้สอนวัยรุ่นหญิงให้รู้จัก “สงวน” ร่างกายตัวเองเพื่อป้องกันในการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
  4. จาก “ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย” สู่ “ชายรักชาย” “ชายรักชาย” ถูกนำมาใช้แทน “ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย” (Men Who Have Sex with Men – MSM) คำนี้ถูกสร้างขึ้นโดยนักเคลื่อนไหว เพื่อสนับสนุนสิทธิทางเพศของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน และเปลี่ยนแปลงการมอง MSM แบบเหมารวม ต่อมาคำนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อยับยั้งเอชไอวี/เอดส์

ข้อค้นพบหลักของโครงการภาษาเพศในสังคมไทย แสดงให้เห็นถึงความรุ่มรวยของภาษาที่ไม่เพียงสะท้อนความหมายทางเพศภาวะ หากยังซ่อนเร้นนัยยะที่หลากหลายในโลกของงานบริการและโครงการด้านสิทธิทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ คำบางคำแสดงให้เห็นถึงพลังในการสะท้อนภาพเหมารวม (stereotype) คำบางคำสามารถเสริมสร้างอำนาจและผลิตวาทกรรมที่ฝังอยู่ในสิ่งประกอบสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมไทยขึ้นใหม่ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการต่อต้านและต่อรองของตัวตน และช่วยให้สาธารณชนมีความเข้าใจเชิงบวกเกี่ยวกับเพศวิถีมากขึ้น[1]


[1] ขอขอบคุณที่มาบทความ ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ โดยสุวรรณี หาญมุสิกวัฒน์กูร จาก http://arrow.org.my/wp-content/uploads/2015/04/AFC-Vol.13-No.-2-2007_Affirmative-Sexuality_Thai.pdf

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *